วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 22 กรรม

ช่วงเร็วๆ นี้ได้อ่านนิยายเจอคำว่า "แบกรับกรรม" และ "เวรกรรมตามสนอง" หลังจากนั้นก็เจอคำว่า "กรรมตามสนอง" เดียวกันนั้นในชีทที่เรียนวิชา Hist JP Lit II -0-

คำว่าเวรกรรมตามสนองคือ 因果応報(いんがおうほう*)ขอรับ ในนิยายที่เจอพูดว่า 「これも因果応報ってやつかね」 คิดว่าน่าจะแปลว่า "นี่ก็คงจะเป็นคนที่กรรมตามสนองอีกสินะ"
*แก้ไขคำอ่านที่ตอนแรกพิมพ์ผิดตามที่อาจารย์คอมเม้นต์บอก

เนื่องจากหาวิธีใช้ไม่ค่อยเจอ เจอแบบ 因果応報ってやつ เหมือนกับในนิยาย ส่วนวิธีใช้อื่นๆ นอกจากเอาไปอธิบายอะไรบางอย่างแล้วไม่ค่อยจะเจอเท่าไร

ส่วนคำว่า "แบกรับกรรม" ที่เจอมาในนิยายเล่มเดียวกันนั้นก็คือ 業を背負う ขอรับ คำว่า 業 นั้นหมายถึง กรรมหรือผลของการกระทำในศาสนาพุทธ หรือการกระทำที่เคยทำไว้เมื่อชาติปางก่อน พบตัวอย่างหนึ่งของการใช้คำนี้ในนินแจลว่า 世界中の人々の命の灯火を消すという、業を背負う覚悟を決めた彼女の言葉。 (คำพูดของเธอที่เตรียมใจแบกรับผลของการกระทำ ที่ได้ดับไฟชีวิตของผู้คนในโลก)
→ ที่เลือกตัวอย่างนี้มาเพราะมีคอลโลเคชั่นที่น่าสนใจอีกคำหนึ่งคือ 覚悟を決める (เตรียมใจ) นั่นเองขอรับ คำว่าเตรียมใจนี้จะใช้คำว่า 覚悟をする ก็ได้ ส่วนเตรียมใจทำเรื่องอะไรนั้นก็ใช้เป็น (สิ่งที่เตรียมใจรับ)覚悟をする เช่นตัวอย่างเตรียมใจแบกรับกรรมข้างบน หรือ 死ぬ覚悟をする (เตรียมใจตาย) เป็นต้น

ส่วน 因果 นี่นอกจากจะหมายถึง กรรม แล้วยังหมายถึง โชคชะตา หรือเหตุและผลที่ตามมาด้วย ลองค้นดูแล้วไม่มีคำว่า 因果を背負う เพราะฉะนั้นคงจะใช้คำนี้ไม่ได้ขอรับ

นอกจาก 業を背負う แล้ว ยังใช้คำว่า 業を持つ ได้ด้วย เจอตัวอย่างในนินแจลว่า 人間は業を持って生まれてくると聞きました (ได้ยินมาว่ามนุษย์นั้นเกิดมาโดยมีกรรมติดตัว)

สำหรับการใช้คำว่า "กรรมหรือผลของการกระทำ" ก็เป็นดังพรรณนามาด้วยประการละฉะนี้แล...

บทที่ 21 จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า

ช่วงนี้ชอบฟังเพลงนึงซึ่งมีท่อนที่ร้องเกี่ยวกับดวงจันทร์ ดวงจันทร์ในเพลงนั้นร้องว่า 欠けた月 ด้วยความสนอกสนใจเกี่ยวกับดวงดาว ก็สงสัยว่ามีวิธีเรียกดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ ว่าอย่างไรบ้าง จึงได้ไปสืบค้นมาได้ความดังนี้

欠けた月 หากแปลตรงๆ คงเป็นจันทร์แหว่ง - -" แปลให้สวยๆ กว่านั้นก็คือ จันทร์ข้างแรม นั่นเองขอรับ

เห็นว่ามี 月が欠ける ด้วย อันนี้ก็ไม่ได้แปลว่าจันทร์ขาด แต่เป็นดวงจันทร์หลังจากจันทร์เต็มดวง หรือจันทร์เสี้ยว ตรงกันข้ามกับ 月が満ちる ซึ่งก็แปลว่าจันทร์เต็มดวง

ส่วนคำว่าข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ ก็คือ 月の満ち欠け ขอรับ เป็นคำที่ใช้กับดวงจันทร์โดยเฉพาะเลย เหมือนกับคำว่า 潮の満ち引き ที่แปลว่ากระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งเคยพูดถึงไปแล้วในเอนทรี่แปลเพลง

ศัพท์ของคำว่า จันทรุปราคา ก็คือ 月食 และสุริยุปราคา ก็คือ 日食 ทั้งสองคำนี้ใช้คันจิที่แปลว่ากิน คล้ายๆ กับในภาษาไทยที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าราหูอมจันทร์อะไรแบบนั้นเลย

สำหรับชื่อเรียกดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ คิดว่าดูเป็นภาพจะทำให้เข้าใจง่ายกว่าขอรับ


คำอ่านขอรับ

上弦の月(じょうげん) หรือ 弓張月(ゆみはりづき) เห็นว่าที่เรียกแบบหลังนี้เพราะลักษณะดวงจันทร์เหมือนกับลักษณะของธนูที่ถูกง้างอยู่ขอรับ

三日月(みかづき)

新月(しんげつ)หรือ 朔日(ついたち)

下弦の月(かげんのつき)หรือ 弓張月(ゆみはりづき)

満月(まんげつ)หรือ 望月(ぼうげつ)หรือ 十五夜月(じゅうごやづき)

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บนี้ อธิบายเกี่ยวกับศัพท์ลักษณะดวงจันทร์เอาไว้อย่างละเอียดมาก มากกว่าที่เห็นในภาพนี้เยอะ หากใครสนใจสามารถเข้าไปอ่านเป็นความรู้เพิ่มเติมได้นะขอรับ

บทที่ 20 แซลมอนรมควัน

กลางคืนดึกๆ ดื่นๆ ได้ยินเสียงกระเพาะร้องประท้วงอย่างนี้ก็ถึงเวลาของ(รูป)อาหารแล้วสินะขอรับ

จู่ๆ ก็นึกขึ้นมาได้ว่าตอนเย็นหลังจากเลิกเรียนแล้ววันหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่าตอนไหน นิสิต A และนิสิต B ได้ออกหากินมื้อค่ำกันที่ห้างหรูย่านกลางใจเมืองแห่งหนึ่ง ซึ่งตอนนั้นกำลังจัดเทศกาลอาหารญี่ปุ่นอยู่ ด้วยความงกและจนจึงได้เลือกกินข้าวหน้าเนื้อราคาไม่แพงมาก และหลังจากอิ่มหนำสำราญกันเรียบร้อยแล้วนิสิต A และนิสิต B ก็ได้เข้าไปเดินเล่นในโซนซุปเปอร์มาเก็ต ซึ่งในขณะนั้นกำลังจัดเทศกาลชิมฟรี(?) นิสิต A และนิสิต B จึงไม่รอช้าเข้าไปรับบริจาคอาหารที่ว่าทันใด และหนึ่งในสิ่งที่ไปชิมฟรีมาก็คือแซลมอนรมควันส่งตรงมาจากญี่ปุ่นนั่นเอง

หลังจากรับก้อนเนื้อชิ้นกระจิ๋วหลิวมาเข้าปาก นิสิต A และนิสิต B ก็เกิดอาการฟินกับเศษเสี้ยวแซลมอนนั้นราวกับได้ลิ้มรสน้ำอมฤตก็มิปาน แต่เมื่อมองราคาของมันแล้วก็เดินหนีออกมาทันใด เพราะแซลมอลรมควันสัญชาติญี่ปุ่นชิ้นยาวไม่ถึงหนึ่งฟุตนั้นราคาเหยียบพันบาทเลยทีเดียว T.T

ออกทะเลไปจับปลามามากแล้ว เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรื่องของเรื่องคือหลังจากนั้นตอนที่นิสิต A และนิสิต B กำลังขึ้น BTS เพื่อกลับรังนอน ก็ได้พูดคุยกันถึงภาษาญี่ปุ่นของคำว่า "แซลมอนรมควัน" ว่ามันน่าจะเป็นคำว่าอะไร

ว่ากันตามตรงคือตอนนั้นนึกคำว่าควันไม่ออกด้วยซ้ำ ฮา แต่ก็ไปนึกถึงนิยายที่แปลว่าเคยเจอคำว่าควันอยู่ ซึ่งควันที่ว่านั้นก็คือ 煙(けむり) นั่นเอง

แต่ด้วยความสงสัยว่าแล้ว 煙 นี่มันเอาไปใช้กับแซลมอนรมควันยังไง จึงลองสืบค้นจากกูเกิ้ลดู ก็พบว่าแซลมอนรมควันนั้นใช้คันจิคนละเรื่องกับ 煙 เลย (จู่ๆ ก็เกิดเสียงอะไรบางอย่างแตกดังเพล้ง)

อาหารรมควันเขาใช้คำว่า 燻製(くんせい)กันขอรับ ดังนั้นแซลมอนรมควันจึงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ 煙 แต่เกี่ยวข้องกับ 燻し(いぶし)ซึ่งแปลว่าการรมควัน หรือออกซิเดชัน ต่างหาก

และคำว่าแซลมอนรมควันก็เรียกว่า 鮭の燻製 หรือ 燻製鮭 ส่วนไส้กรอกรมควันก็เหมือนกัน เรียกว่า ソーセージの燻製 หรือ 燻製ソーセージ นั่นเองขอรับ

ส่วนคำว่า 煙 นั้นจะหมายถึงควันทั่วๆ ไป เช่น ควันไฟ ควันระเบิด ฝุ่นควัน อะไรประมาณนั้น อย่างคำว่าบุหรี่ หรือ タバコ ก็ใช้คันจิ 煙草 ขอรับ

อา ไหนๆ ก็พูดถึงอาหารแล้ว เอนทรี่นี้ก็ขอปิดท้ายด้วยสิ่งนี้เลยก็แล้วกัน ขอให้อร่อยกันถ้วนหน้านะขอรับ
-_,-


วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 19 อย่างที่รู้ๆ กันอยู่

หลายสัปดาห์ก่อน หรืออาจจะหลายเดือนก่อน จำไม่ได้แล้วเหมือนกัน เคยคิดจะพิมพ์ภาษาญี่ปุ่นคำว่า "อย่างที่รู้ๆ กันอยู่" แต่ก็เกิดอาการชะงักว่าเขาใช้คำว่าอะไร ที่แน่ๆ คำที่ผุดขึ้นมาในหัวเป็นคำแรกคือ 通り

แต่ด้วยความที่ไม่แน่ใจกลัวใช้ผิดจึงลองเสิร์ชหาในกูเกิ้ลดูวิธีการใช้ 知る+通り ได้ความว่า เขาใช้ 知っての通り กันขอรับ ซึ่งคิดว่ามันย่อมาจาก 知っている通り ซึ่งแสดงสภาพที่รู้อยู่แล้วในปัจจุบันนั่นเอง

นอกจากนั้นก็มี ご存知の通り ซึ่งดูจากศัพท์ก็พอจะรู้ว่ามันเป็นคำยกย่อง แล้วก็ไปเจอกระทู้นี้ที่มีคนถามว่า ご存知のように ถือว่าเป็นคำสุภาพหรือเปล่า ก็มีคนตอบว่าใช้กับ ように แล้วมันแปลกๆ เขาไม่ใช้กัน

เห็นดังนั้นก็พลันนึกถึงคำว่า 思うように ที่หมายความว่า ตามที่คิด ดั่งใจคิด ก็ใช้ ように เหมือนกัน แต่ก็ไม่แปลก และให้ความหมายเหมือนกับ 思い通り

แต่นอกจากสองคำนั้นก็ยังมีการใช้คำว่า 思った通り ด้วย ซึ่งดูจากกริยาที่บ่งบอกรูปอดีตแล้วคิดว่ามันน่าจะให้ความหมายว่า "อย่างที่คิดเอาไว้เลย" ประมาณนั้นล่ะมั้ง? ซึ่งต่างจาก 思い通り หรือ 思うように ตรงที่สองคำนี้จะให้ความรู้สึกว่า "ดั่งใจปรารถนา" มากกว่า ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างการใช้ ซึ่งเคยได้ยินมาจากอนิเม ว่า 「世の中というのはなかなか思い通りにはいかぬものだな」 (โลกน่ะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะเป็นไปดั่งใจคิดสักเท่าไรเลยอย่างนั้นสินะ)

ขอพูดถึงอีกคำที่ใช้ 通り ต่อท้ายเหมือนกัน นั่นก็คือ 見た通り คำนี้ดูจากกริยารูปอดีตก็คิดว่าน่าจะมีความหมายเหมือนที่บอกไปข้างบน คือแสดงความหมายว่า "อย่างที่เห็นเมื่อสักครู่" ซึ่งให้ความรู้สึกว่าตอนนี้ไม่ได้มองอยู่ แต่เห็นอยู่เมื่อตะกี้นี้

ส่วน 見ての通り ก็อาจจะเป็นคำย่อของ 見ている通り เหมือนกับ 知っての通り ที่พูดไปข้างบนล่ะมั้ง คือแสดงให้เห็นว่าเป็น "อย่างที่เห็นอยู่ ณ ตอนนี้" นั่นเอง

ส่วน ご覧の通り ก็เป็นคำยกย่องของทั้ง 見ての通り และ 見た通り ล่ะมั้งขอรับ?

สรุปแล้วคือได้ความรู้ใหม่ ที่คนอื่นอาจจะรู้อยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม ว่าถ้าหากเป็น ~ての通り = ~ている通り นั่นเองขอรับ

บทที่ 18 ทุกสิ่งทุกอย่างมันเยอะจริงๆ นะ

จู่ๆ ก็นึกขึ้นมาได้ว่าเคยเจอคำที่มีความหมายว่า "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ในนิยายเรื่องเดียวมาหลายคำมาก ถ้าพูดถึงคำว่า "ทุกสิ่งทุกอย่าง" คำแรกที่ทุกคนนึงถึงก็น่าจะเป็น 全て、全部 สินะขอรับ?

ในนิยายที่อ่านก็มีทั้งสองคำนี้แหละ แต่นอกจากนั้นยังมีคำอื่นๆ อีก เช่น 何もかも คำนี้ก็เจอบ่อยเหมือนกัน หรือคำว่า 何でも ที่หากแปลตรงตัวเป็น "ไม่ว่าอะไรก็ตาม" ก็ยังให้ความหมายว่า "ทุกสิ่งทุกอย่าง" อยู่ดี นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่เพิ่งเคยเจอเป็นครั้งแรก หรือไม่ก็ไม่ได้เจอเป็นครั้งแรกแต่สังเกตเป็นครั้งแรก คือ 洗いざらい นั่นเอง

เมื่อลองสืบค้นดูว่ายังมีคำไหนที่แปลว่า "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ได้อีกบ้าง ก็พบว่ามันโผล่มาเยอะมากกกกกกกกจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น 一切 หรือแม้แต่ 皆 ที่รู้แต่ลืมไปว่านอกจากความหมายที่เราๆ คุ้นเคยว่าแปลว่า "ทุกคน" แล้วมันยังหมายถึง "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ได้อีกด้วย

พอลองสืบค้นดูคำอธิบายความหมายของแต่ละคำก็พบว่า...

(หมายเหตุ : คราวนี้ไม่ขอแปลเป็นภาษาไทยเพราะถ้าแปลแล้วมันจะได้ความหมายเหมือนกันหมด... ส่วนแหล่งอ้างอิงจิ้มที่แต่ละคำได้เลยขอรับ)

全部 = ある物事のすべて。みな。全体。

全て = ある物や、ある事の全部。いっさい。

 = 残らず。ことごとく。すべて。みんな。

一切 = 全部。すべて。ことごとく。

あらゆる = すべての。あるかぎりの。ありとあらゆる。

คำโดดๆ พวกนี้ดูแล้วความหมายไม่เห็นจะต่างกันสักเท่าไรเลย 5555 เพราะฉะนั้นอย่าได้ถามว่าอย่างกันอย่างไรเพราะไม่รู้เหมือนกัน... แค่มีความรู้สึกว่า 全て ฟังดูเป็นทางการกว่า ส่วนคำอื่นนั้นไม่รู้ขอรับ

ช่างคำโดดไป เรามาดูคำที่เป็นวลีที่มักจะมาด้วยกัน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นคอลโลเคชั่น? กันดีกว่า

何もかも = 全て、一切、全部、一切合財、などの意味の表現。
→ สรุปแล้วคำนี้ความหมายไม่ต่างจากคำโดดข้างบนเท่าไร 555

何でもかんでも  = どうしても。どういうものでも。すべて。なんでもかでも。
→ คำนี้ให้ความหมายประมาณว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม

ありとあらゆる = 「あらゆる」を強めた言い方。すべての。ある限りの。連体詞的に用いる。
→ ง่ายๆ คือมันเป็นการเน้นคำว่า あらゆる นั่นเอง

ある限り = 1) あるだけ全部。ありったけ。 2) その場にいる人のすべて。全員。 3) 生きている間。
→ อันนี้จะให้ความหมายประมาณว่า ทั้งหมดเท่าที่มี

洗いざらい = 残したり隠したりせず、すべてを出すさま。何から何まで全部。残らず。
→ คำนี้ให้ความหมายว่า ไม่ปล่อยให้เหลือหรือซุกซ่อนเอาไว้

อืมมมม... พอมาเป็นวลีแล้วค่อยรู้สึกถึงความแตกต่างกันหน่อย ดูเหมือนว่าที่จริงยังมีวลีอื่นๆ ที่ให้ความหมายคลับคล้ายคลับคลาคำว่า "ทุกสิ่งทุกอย่าง" อยู่อีกเยอะ... จะพูดให้หมดคงยาก (เพราะไม่รู้ว่ามีมากแค่ไหน) ดังนั้นจึงขอจบเอนทรี่ "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ไว้แต่เพียงเท่านี้นะขอรับ

บทที่ 17 お詫びメール: Task ที่ถูกลืม

เอนทรี่นี้จะมาพูดถึง タスク สุดท้ายที่อาจารย์ให้ส่งอันที่แก้ไขใหม่ไปให้ แต่ก็ลืมเอามาลงบล็อก แต่ดันลง タスク ที่ให้เขียนส่งแค่ครั้งเดียวเป็นครั้งสุดท้ายไปก่อนแล้ว 555

ก่อนอื่นจะลงเนื้อหาของฉบับแรกที่ส่งไปก่อนนะขอรับ

拝啓 私は現在の日本の授業を受けるサバイティップ・ヴッティチョッタナワットと申します。中間レポートのことなのですが、提出期限は2013年12月27日になることになりましたと存じておりますが、私は25日から28日まで病気で入院していましたので、提出日にレポートを提出できませんでした。2014 年1月1日までは休日になることになりましたため、2日にレポートを提出させていただけるかどうか、許可を求めたいと存じます。ご迷惑をかけて、本当に申し訳ありません。

 来年もよろしくお願い致します。良いお年を。              敬具


สิ่งแรกเลยที่เห็นว่าแปลกอย่างเห็นได้ชัดก็คือ 拝啓 กับ 敬具 เรื่องของเรื่องคือปีก่อนเคยเรียนเรื่องการเขียนจดหมาย แล้วในจดหมายก็จะเขียน 拝啓 กับ 敬具 เอาไว้แสดงความสุภาพและดูเป็นทางการ ที่จริงก็เขียนไปใน タスク Guitarist สาเหตุที่ทำผิดซ้ำซ้อนเพราะเพิ่งรู้ว่าในอีเมลไม่จำเป็นต้องเขียน 拝啓 กับ 敬具 ก็หลังจากที่ส่งงาน タスク นี้ไปแล้ว แต่ที่จริงตัวอย่างของคนญี่ปุ่นที่อาจารย์เอามาให้ดูก็เห็นว่ามีคนที่ใช้ 拝啓 กับ 敬具 อยู่ด้วยเหมือนกันแฮะ แสดงว่ามันอาจจะไม่ได้ผิดมากมายอะไรนัก แต่ไม่เป็นที่นิยมมากกว่าล่ะมั้ง?

นอกจากนั้นเนื้อหาก็เป็นการบอกสาเหตุที่ไม่ส่งรายงานตามกำหนด แต่ไม่ได้อธิบายรายละเอียดมาก เพราะคิดว่าปกติคนญี่ปุ่นเวลาพูดเกริ่นอะไรบางอย่างที่แสดงถึงความไม่สะดวก ลำบากใจ อีกฝ่ายก็จะไม่ถามต่อ ด้วยเหตุนี้จึงบอกแค่ว่าป่วยแต่ไม่ได้บอกว่าป่วยเป็นอะไรยังไง แต่ก็ลืมไปว่านี่จะขออนุญาตส่งงานทีหลัง จึงควรจะชี้แจงเหตุผลให้อาจารย์ยอมใจอ่อน ไม่ใช่แค่เกริ่นแค่นี้ก็จบ

ข้างล่างนี้คือฉบับที่แก้ไขแล้วนะขอรับ ไม่ค่อยได้เปลี่ยนอะไรเยอะด้วยความขี้เกียจเขียนยาวๆ 555 แต่ก็ได้เพิ่มรายละเอียดอาการป่วยเข้าไปเล็กน้อย และบอกด้วยว่าครั้งหน้าจะระมัดระวังไม่ให้ส่งงานสายอีก

こんにちは。「現在の日本」の授業を受けるサバイティップ・ヴッティチョッタナワットと申します。

中間レポートのことなのですが、提出期限は2013年12月27日だということを存じておりますが、私は12月25日から28日までデング熱で突然熱が高くなってしまって、入院していました。診断書をメールに添付しました。このような事情で、提出日にレポートを提出できませんでした。誠に申し訳ありません。2014 年1月1日までは休日になりましたので、どうか2日にレポートを提出させていただけないでしょうか。次回から遅れないように気をつけます。よろしくお願い致します。

来年もよろしくお願い致します。良いお年を。


ถึงจะบอกว่าแก้ไขแล้วแต่ก็ยังมีจุดที่ผิด ซึ่งอาจารย์เอามาบอกในห้องทีหลังอยู่ 555 จุดที่ว่าก็คือ

1. 「現在の日本」อาจารย์บอกว่าควรจะเปลี่ยนเป็น 現代の日本 แทน
→ เมื่อลองสืบค้นความแตกต่างของ 現在 และ 現代 แล้ว ก็พบ http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1145301596 ซึ่งมีคนตอบเอาไว้ว่า 現在 คือช่วงเวลาในปัจจุบัน ส่วน 現代 คือยุคปัจจุบัน ดังนั้นชื่อวิชา ญี่ปุ่นปัจจุบัน จึงน่าจะใช้ 現代 ซึ่งหมายความว่า "ญี่ปุ่นในยุคปัจจุบัน" มากกว่า

2. 良いお年を ซึ่งใช้อวยพรในวันก่อนปีใหม่นั้นก็ไม่ได้ผิดอะไรหรอก แต่หากพูดแค่นี้มันเป็นคำย่อซึ่งใช้พูดกับเพื่อนหรือคนสนิท หากพูดกับอาจารย์ผู้สูงกว่าก็ต้องพูดให้เต็ม คือ 良いお年をお迎えください จะดีกว่า
→ สารภาพว่าก่อนหน้าที่อาจารย์จะบอกว่าควรจะเขียนให้เต็มนั้นไม่รู้ว่าคำเต็มมันคืออะไร เนื่องจากได้ยินและพูดแค่ 良いお年を มาตลอดนั่นเอง


タスク นี้สั้นๆ ก็ไม่รู้จะเขียนอะไรมากเพราะผ่านมานานแล้วลืมไปแล้ว - -" ดังนั้นจึงขอจบเอนทรี่แต่เพียงเท่านี้ขอรับ

บทที่ 16 Alone

เห็นชื่อเอนทรี่ไม่ได้จะมาบรรยายความเหงาเปล่าเปลี่ยนหรือให้คำศัพท์เกี่ยวกับความโดดเดี่ยวแต่อย่างใด แต่มันคือชื่อของเพลงที่จะแปลในเอนทรี่นี้ต่างหากขอรับ

เพลงนี้เป็นเพลงประกอบอนิเม Gensoumaden Saiyuki ร้องโดย Shimokawa Mikuni เป็นอีกหนึ่งเพลงที่ชอบมาก และฟังมาตั้งแต่สมัยม.ต้นยันปัจจุบัน ก็การ์ตูนเรื่องนี้มันเก่าพอสมควรเลยนี่นา แต่ที่จริงแล้วสองเพลงในสองเอนทรี่ก่อนหน้านี้ก็เป็นเพลงเก่าหลายปีแล้วเหมือนกัน

หากอยากฟังขอให้จิ้ม


乾いた風が吹く 街は凍えている
いくつの季節が そっと音もなく 過ぎ去ったのだろう

สายลมแห้งผากพัดพา เมืองยะเยือกเหน็บหนาว
ฤดูกาลผันผ่านไปอย่างเงียบงันมามากเพียงใดแล้วนะ

行き交う人は皆 重い荷物背負って
遠くに揺れる かげろうの中に 明日を見つける

ทุกคนที่ผ่านไปมา ล้วนแบกสัมภาระอันหนักอึ้งเอาไว้
ซวนเซไปไกล แสวงหาวันใหม่ภายในความไม่จีรัง

この手をこぼれ落ちる 砂のような感情
あの時胸に刺さった 言葉がふいに疼くけど

อารมณ์ความรู้สึกประดุจเม็ดทรายที่ปลิวกระจายอยู่ในมือนี้
คำพูดที่ติดค้างอยู่ภายในใจในตอนนั้น จู่ๆ ก็รู้สึกปวดหนึบขึ้นมา

果てない夜を数えながら
自分の破片(かけら)探していた
失う程にこの思いが 確かになってく
今なら きっと歩いていける どこまでも

ระหว่างที่นับค่ำคืนอันไร้ที่สิ้นสุด
ก็มองหาเศษเสี้ยวของตนเองไปด้วย
ยิ่งสูญเสียมันไป ความคิดนี้ก็ยิ่งแจ่มชัดขึ้นมาเรื่อยๆ
หากเป็นตอนนี้ล่ะก็ ไม่ว่าจะจนถึงที่ไหน ก็จะสามารถเดินไปได้อย่างแน่นอน

どうしてこの空はこんなに広いのだろう
叫んでみても 声にならなくて涙があふれた

เหตุใดท้องฟ้านี้จึงกว้างใหญ่ถึงเพียงนี้นะ
แม้ว่าจะลองตะโกนออกไปก็ไม่มีเสียงออกมา หยาดน้ำตาก็ไหลริน

自由に風切って 鳥たちは何処へ行くの?
過ごした時間のように同じ場所に戻れない

ฝูงนกที่บินตัดผ่านสายลมอย่างอิสระเสรีจะบินไปที่ไหนกันนะ
ไม่อาจย้อนกลับไปยังสถานที่แห่งเดิมได้ เหมือนกับเวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว

このまま夢をあきらめても 高鳴る鼓動おさえきれない
いつかはきっと近付きたい あの雲の高さ
もう一度 心に翼広げ 旅立とう

แม้จะละทิ้งความฝันทั้งๆ อย่างนี้ ก็ไม่สามารถกดควบคุมจังหวะหัวใจที่เต้นรัวเร็วไปตลอดได้
สักวันหนึ่งก็อยากจะเข้าไปใกล้ความสูงของก้อนเมฆก้อนนั้นให้ได้
กางปีกในหัวใจ ออกเดินทางไปอีกครั้งหนึ่ง

必ずたどりつけるはず

จะต้องดิ้นรนไปถึงให้ได้อย่างแน่นอน

果てない夜を数えながら
自分の破片(かけら)探していた
失う程にこの思いが 確かになってく
今なら きっと歩いていける どこまでも

ระหว่างที่นับค่ำคืนอันไร้ที่สิ้นสุด
ก็มองหาเศษเสี้ยวของตนเองไปด้วย
ยิ่งสูญเสียไปมากเท่าไร ความคิดนี้ก็ยิ่งแจ่มชัดขึ้นมา
หากเป็นตอนนี้ล่ะก็ ไม่ว่าจะจนถึงที่ไหน ก็จะสามารถเดินไปได้อย่างแน่นอน


ต่อไปก็ถึงเวลาของศัพท์และคอลโลเคชั่นที่น่าสนใจนะขอรับ

1. 風が吹く อันนี้ค่อนข้างง่าย น่าจะรู้ๆ กันอยู่แล้วว่าลมพัดใช้คำว่า 風が吹く
→ อย่าได้ถามว่า 乾いた風 คืออะไร เพราะไม่เข้าใจเหมือนกันว่าลมแห้งคืออะไร - -" แต่คิดว่าเมื่อดูจากประโยคเมืองหนาวที่ตามมาแล้วน่าจะเป็นอากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์น้อย เลยรู้สึกแห้งๆ

2. 凍える อ้างอิงจ่าก http://www.weblio.jp/content/%E5%87%8D%E3%81%88%E3%82%8B แปลว่า แข็งชาเพราะความหนาว ทำให้ขยับไม่ได้ดั่งใจ เช่น 手が凍えて字がうまく書けない (มือแข็งชาจึงทำให้เขียนหนังสือไม่ค่อยได้)
→ อย่าถามว่าคำนี้มันใช้กับ 街 ได้ด้วยเหรอ คำตอบคือไม่รู้เหมือนกัน แต่คิดว่าในเพลงนี้คงจะเปรียบเปรยให้เห็นภาพ ให้เข้ากับอนิเมล่ะมั้ง (เห็นคำแปลเพลงนี้แล้วนึกถึงโกคูเป็นอันดับแรก ถ้าใครเคยอ่านหรือดู Saiyuki น่าจะพอรู้ว่าหมายถึงอะไร?)

3. そっと音もなく อันที่จริง そっと กับ 音もなく ไม่ได้เป็นคอลโลเคชั่นกันหรอก แต่เนื่องจาก そっと มีหลายความหมาย คือ นุ่มนวล อ่อนโยน เงียบงัน อย่างลับๆ แต่เมื่อตามมาด้วย 音もない แล้วจึงรู้ว่าในที่นี้คงจะหมายความว่าเงียบ ส่วน 音もない ก็แปลว่าไม่มีเสียงตรงตามตัวอักษรนั่นแล

4. 過ぎ去る แปลว่า ผ่านไป เมื่อดูจากคันจิที่มาประกอบกัน 過ぎる ก็แปลว่าผ่านอยู่แล้ว ส่วน 去る แปลว่าจากไป เมื่อมาผสมกันก็คือผ่านไปแล้วนั่นเอง

5. 行き交う แปลว่า มาแล้วก็ผ่านไป นิยมใช้กับคนหรือยานพาหนะ

6. かげろう ในที่นี้ไม่ได้เขียนเป็นคันจิมาให้ แสดงว่าคงจะอยากให้ตีความเอาเอง เปิดพจนานุกรมพบว่าคันจิของคำนี้มีสามตัวด้วยกัน คือ 1) 陽炎 ภาพคล้ายเปลวไฟที่เห็นบนพื้นเมื่ออากาศร้อนจัด (ไม่รู้ภาษาไทยเรียกอะไรง่ะ) 2) 蜻蛉 แมลงปอ 3) 蜉蝣 ในพจนานุกรมที่ใช้แปลว่าแมลงเดือนห้า? แต่ยังสามารถแปลได้ว่า สิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน ได้ด้วย คงจะเหมือนกับชีวิตแมลงที่เกิดมาแค่ไม่กี่วันก็ตาย
→ ดูจากความหมายแล้วในเพลงนี้คงไม่ได้พูดถึงแมลงปอ ส่วนจะแปลว่าหมอกร้อนก็ไม่น่าจะใช่ (ก็ก่อนหน้านี้ยังพูดถึงเมืองหนาวอยู่เลย) จึงคิดว่าน่าจะเป็นความไม่จีรังมากกว่า

7. こぼれ落ちる แปลว่า ปลิวหล่น หล่นกระจัดกระจาย ปกติจะใช้เป็น AからBがこぼれ落ちる (Bปลิวหล่นลงมาจาก A)
→ ในเพลงนี้เป็น この手をこぼれ落ちる ด้วยความสงสัยว่าทำไมใช้ を จึงสืบค้นวิธีใช้แต่ไม่เจอ เจอแต่ตัวอย่างการใช้ใน http://nlb.ninjal.ac.jp/search/ ได้ตัวอย่างว่า フィツは気づかなかったが、ペチカのほおを一滴、涙がこぼれ落ちた。(ฟิตซ์ไม่รู้ว่าน้ำตาหนึ่งหยดได้ไหลลงมาตามแก้มของเพจิก้า) ดังนั้นจึงคิดว่า หากใช้ ~をこぼれ落ちる คงจะหมายความว่า หล่นลงมาตาม~

8. 疼く แปลว่า ปวด ปกติมักจะใช้กับร่างกาย เช่น 体が疼く หรือ 傷が疼く
→ ในเพลงนี้ใช้ 言葉が疼く -0- คาดว่าคงจะเชื่อมกับประโยคก่อนหน้านี้ที่ว่าเป็นคำพูดที่ติดค้างอยู่ในใจ อารมณ์อยากจะพูดแต่พูดไม่ออกล่ะมั้ง

9. 程に อ้างอิงจาก http://kotobank.jp/word/%E7%A8%8B%E3%81%AB มีสองความหมาย 1) เมื่อทำกริยาหนึ่งแล้วก็... 2) ยิ่งทำกริยาหนึ่ง ก็จะยิ่ง...
→ ความจริงก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในเพลงควรจะใช้ความหมายไหน แต่คิดว่ามันไม่น่าจะให้เซ้นส์ต่างกันมากในกรณีของเพลงนี้...

10. 声にならない ดูเหมือนว่าจะให้ความหมายว่า ตกตะลึงจนพูดไม่ออก ด้วย แต่คิดว่าในเพลงนี้น่าจะแค่ส่งเสียงแล้วไม่มีเสียงออกมามากกว่า

11. 涙があふれる หากดูความหมายของ あふれる แล้วมันแปลว่าเอ่อล้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับน้ำตา (และนิยมใช้กันซะด้วย เจอบ่อยมากในเพลง) น่าจะหมายถึงน้ำตาคลอเบ้าจนล้นและไหลออกมา ส่วนคอลโลเคชั่นอื่นที่แปลว่าน้ำตาไหลเหมือนกันก็มี 涙が出る หรือ 涙がこぼれる หรือ 涙が流れる ก็ใช้ได้

12. 過ごす มีความหมายว่า ใช้ ผ่าน มักจะมาคู่กันกับคำนามที่บอกกาลเวลา เช่น 日々、時間、夏 เช่น ใช้เวลา ก็คือ 時間を過ごす

13. あきらめる แปลว่า ล้มเลิกความตั้งใจ ยอมแพ้ เช่น ล้มเลิกความฝัน 夢あきらめる

14. おさえきれない มาจาก おさえる+きる คำว่า おさえる นั้นมีสองคันจิ คือ 抑える(ควบคุม) และ 押さえる(กด) ส่วน きる เมื่อเอามาประกอบกับคำกริยาอื่น ก็มีความหมายว่า ทำไปจนเสร็จสิ้น นั่นเอง
→ ในเพลงนี้ไม่ได้ให้คันจิมา จึงคิดว่าคงอยากจะให้ตีความได้ทั้งสองแบบ


เพลงนี้ยาว เป็นอีกเพลงหนึ่งที่แปลแล้วเหนื่อย แต่เอามาอธิบายนี่เหนื่อยกว่า - -" ยังไงก็ขอจบเอนทรี่นี้ไว้เท่านี้นะขอรับ

วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 15 Everlasting Song

เอนทรี่นี้ก็จะมาขอต่อด้วยคำแปลเพลงอีกนะขอรับ เนื่องจากอย่างที่พูดไว้ในห้องว่าเคยแปลเพลงมาหลายเพลงมาก แน่นอนว่านี่ก็เป็นอีกหนึ่งเพลงที่เคยแปลเอาไว้

เพลงนี้ชื่อ Everlasting Song เป็นเพลงประกอบอนิเมเรื่อง Erementar Gerad ร้องโดย Fiction Junction Asuka ที่จริงมีสองเวอร์ชั่น เป็นภาษาอังกฤษล้วนและภาษาญี่ปุ่น ในเมื่อทำบล็อกเกี่ยวกับการพัฒนาภาษาญี่ปุ่น ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าเอาเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นมาแปลนะขอรับ

หากอยากฟัง จิ้มที่นี่


あの時君が見てた夢を追いかけて
僕等は今遠い道を歩き始めてる


ยามนี้พวกเราเริ่มออกเดินไปในเส้นทางอันยาวไกล
ไล่ตามความฝันที่เธอเห็นในตอนนั้น


君の目に映ってる世界の姿を
無口な指で分け合いたくて
一人にはしないから

อยากจะแบ่งปันภาพของโลก
ที่สะท้อนอยู่ในดวงตาของเธอด้วยนิ้วที่เงียบงัน
จะไม่ปล่อยให้เธออยู่ตามลำพังคนเดียว

君の為に少しでも優しくなれたかな
涙を微笑みに変える強さを僕は
まだ知らない

จะสามารถอ่อนโยนแม้สักนิดเพื่อเธอได้หรือเปล่านะ
ฉันยังไม่รู้จักความเข้มแข็ง
ที่จะเปลี่ยนหยาดน้ำตาให้กลายเป็นรอยยิ้ม

何よりかけがえのない君への想いが
繰り返してた時の流れを
未来へと変えて行く

ความรู้สึกที่ส่งถึงเธอ ผู้ไม่มีใครมาแทนที่ได้นั้น
ได้เปลี่ยนการผ่านไปของเวลาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปเรื่อยๆ
ไปสู่อนาคต อย่างมากยิ่งกว่าสิ่งใด

手を取って二人で奏でる切ない音楽が
いつかは一つに解け合い
終わらないメロディー
空に響く…

บทเพลงแสนเศร้าที่เราสองคนจับมือกันบรรเลง
สักวันจะเข้าใจร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว
ทำนองเพลงที่ไม่จบสิ้น
สะท้อนขึ้นไปบนฟากฟ้า

あの時君が見てた夢を追いかけて
僕等の胸を繋ぎ続ける
終わらないメロディー
you're my everlasting song…
come fly with me…

เชื่อมโยงใจของพวกเราต่อไปเรื่อยๆ
ไล่ตามความฝันที่เธอเห็นในตอนนั้น
ทำนองเพลงที่ไม่จบสิ้น
เธอคือบทเพลงอันเป็นนิรันดร์ของฉัน
มาโบยบินไปด้วยกันกับฉัน


เอาล่ะ ถึงเวลาของคำศัพท์และคอลโลเคชั่นที่น่าสนใจแล้วขอรับ

1. 夢を追うかける คำว่า 追いかける แปลว่าไล่ตาม เพราะฉะนั้นในประโยคนี้ก็จะแปลว่า ไล่ตามความฝัน คำแปลค่อนข้างจะตรงตัว เพราะในภาษาไทยก็ใช้คำนี้เหมือนกัน

2. 道を歩く อันนี้เหมือนจะเคยพูดถึงในเอนทรี่แปลคำทำนายไทยเป็นญี่ปุ่นแล้ว ว่าเดินตามเส้นทางก็ต้องใช้ を歩く

3. 分け合う เห็นคันจิ 分ける ที่แปลว่าแบ่งแยกก็จริง แต่มี 合う อยู่ด้วย ถ้าอย่างนั้นอะไรคือแบ่งแยกร่วมกัน? หากคิดอย่างนั้นก็คงจะตลกและงงๆ ที่จริงมันแปลว่า แบ่งปัน ขอรับ หรือถ้าเอายาวๆ ก็คือ แบ่งใช้ร่วมกันนั่นเอง (มีคำว่า แบ่ง กับ ร่วมกันเหมือนกันนะเนี่ย ฮา)

4. 涙を微笑みに変える ประโยคนี้ AをBに変える ก็คือ เปลี่ยน A ให้เป็น B นั่นเอง ซึ่งในเพลงนี้ก็คือเปลี่ยนน้ำตาให้กลายเป็นรอยยิ้ม

5. 何より อะไรที่วางไว้หน้า より คือน้อยกว่าสิ่งที่จะตามมาข้างหลัง แต่ 何より ก็จะให้ความหมายว่า ดีที่สุด มากที่สุด ด้วย

6. かけがえのない แปลว่า ไม่มีอะไรมาแทนที่ได้ หรือสิ่งที่เงินไม่สามารถซื้อได้ ชอบคำนี้มากเป็นการส่วนตัวขอรับ =w=

7. 想い คล้ายๆ กับ 思い หากถามว่ามันต่างกันยังไง ก็ไปสืบค้นมาจาก http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q129943227 ได้ความว่า 思い เป็นคำที่หมายถึงความคิดโดยทั่วไป ส่วน 想い นั้นหมายถึง 1) ความรู้สึกเข้มข้นต่อสิ่งสิ่งหนึ่งที่ผุดขึ้นมาในใจ 2) คิดพล็อตนิยาย ละคร เพลง เป็นต้น

8. 音楽を奏でる ปกติเมื่อพูดถึงเล่นเครื่องดนตรีแล้วจะนึกถึงคำว่า ひく ก่อนเลย แต่ 奏でる ก็แปลว่าเล่นเครื่องดนตรีได้เหมือนกัน หรือจะหมายถึงบรรเลงบทเพลงก็ได้ ตัวอย่างจาก http://nlb.ninjal.ac.jp/search/ ก็เช่น 音を奏でる、曲を奏でる、楽器を奏でる เป็นต้น

9. 一つに解(と)け合う อ้างอิงจาก http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1082270225 ที่จริงคันจิของ とけあう ใช้ 溶け合う ก็ได้ จะมีความหมายว่า หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ส่วน 解け合う ในเพลงนี้ใช้คันจิ 解る ซึ่งแปลว่าเข้าใจ ตีความได้ว่า เข้าใจร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว นั่นเอง


เนื่องจากเพลงนี้สั้น และไม่ค่อยมีคำศัพท์หรือคอลโลเคชั่นอะไรยากเหมือนเพลงก่อนหน้านี้ จึงขอจบเอนทรี่นี้แต่เพียงเท่านี้นะขอรับ

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 14 บทเพลงแห่งสังสารวัฏ

เห็นชื่อเอนทรี่อย่าเพิ่งงงว่าไอ้ "บทเพลงแห่งสารวัฏ" นี่มันคืออะไร ก่อนหน้านี้ที่พรีเซ้นท์บล็อกในห้องบอกไปว่าต่อไปจะเขียนเกี่ยวกับเพลงที่เคยแปล ในเมื่อพูดไปแล้วจะไม่เอามาลงเลยก็กระไรอยู่ เพราะฉะนั้นเอนทรี่นี้จะพูดถึงเพลงที่เคยแปลไว้เมื่อสมัยม.ปลาย ซึ่งชื่อเอนทรี่นี้ก็คือคำแปลของชื่อเพลงนั่นเองขอรับ

เพลงที่จะพูดถึงในเอนทรี่นี้เป็นเพลงประกอบอนิเมเรื่อง Vampire Knight Guilty ซึ่งร้องโดยฝาแฝด On/Off นะขอรับ

อยากฟังเพลงนี้จิ้มที่นี่

เพื่อความง่ายในการเปรียบเทียบคำแปลและต้นฉบับ จะใส่คำแปลเป็นกลุ่มๆ ไปนะขอรับ


輪廻ロンド
บทเพลงแห่งสังสารวัฏ

白い薔薇の花びら ひとつふたつ開けば
あの日の記憶蘇るでしょう
安らぎに照らされて 花を咲かせた夜は
甘くせつなく 色づいていく

หากกลีบกุหลาบสีขาวคลายคลี่ออกทีละกลีบ
ความทรงจำในวันนั้นก็คงจะฟื้นกลับคืนมา
ค่ำคืนที่ความสงบสาดส่อง และทำให้ดอกไม้แบ่งบาน
ค่ำคืนนั้นก็ได้เปลี่ยนสีสันไปเรื่อยๆ อย่างหอมหวานระคนเจ็บปวด

光る糸を辿るように 時間(とき)は静かに流れて
満ち引く揺れに添いながら 人は生まれ変わる

กาลเวลาผ่านไปอย่างเงียบงัน ราวกับไปตามเส้นด้ายที่ส่องแสงแวว
ในขณะที่ติดไปกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ผู้คนก็จะเริ่มต้นชีวิตใหม่

貴方の微笑みは 胸を溶かすぬくもり
どこかで見た 淡い夢のよう
沈む夕日に 今を切り取られても
二人の影は重なっていく

รอยยิ้มของเธอคือความอบอุ่นที่หลอมละลายหัวใจ
ราวกับเป็นความฝันอันเรือนลางที่เคยเห็นที่ไหนสักแห่ง
แม้อาทิตย์ตกดินจะตัดผ่านยามนี้ไป
เงาของเราสองคนก็จะซ้อนทับกันไปเรื่อยๆ

果てしなく遠く 限りなく深く 交わった運命のように
何度もつかんで 何度も失って やっと廻り合えた事
空が地を求め 花が雨を待ち 夜が明日を恋うように
二つの心が 一つだったこと こんなにも求めてたの


ราวกับโชคชะตาที่มาบรรจบกันอย่างยาวไกลไร้จุดสิ้นสุด และลึกซึ้งไร้ข้อจำกัด
ไม่ว่าจะเหนี่ยวรั้งเอาไว้ หรือสูญเสียไปกี่ครั้งกี่หน ในที่สุดก็ได้หวนกลับมาพบกันใหม่
ราวกับท้องฟ้าที่ใฝ่หาผืนดิน ดอกไม้ที่รอคอยหยาดน้ำฝน หรือราตรีที่หลงรักวันใหม่
หัวใจของเราสองคนได้กลายเป็นหนึ่งเดียว ฉันเคยเฝ้าใฝ่หามากถึงเพียงนี้

永い眠りほどいて 今宵めぐり逢えたら
二人の輪廻曲(ロンド) さあ 踊りましょう

หากตื่นขึ้นมาจากนิทราอันยาวนาน แล้วได้กลับมาพบกันในค่ำคืนนี้ล่ะก็
มาร่ายรำบทเพลงของเราสองคนกันเถอะ

過ぎた日々を流すように 月はやさしく潤んで
記憶の先にもう一度 愛しさが溢れた

จันทราพร่ามัวอย่างอ่อนโยนและง่ายดาย ราวกับว่าปล่อยให้คืนวันที่ผ่านพ้นล่องลอยไป 
ความรักเอ่อล้นขึ้นมา ณ ปลายทางแห่งความทรงจำอีกครั้งหนึ่ง

貴方の年月を 二重に歩めるなら
影となって 守っていたい
吹き迷う風 二人を遠ざけても
信じることを忘れないで


หากสามารถก้าวเดินไปโดยซ้อนทับกับเดือนปีของเธอได้ล่ะก็
อยากจะกลายเป็นเงาและคอยปกป้อง
แม้สายลมที่พัดผ่านจะทำให้เราสองคนห่างไกลกัน
แต่ก็อย่าได้ลืมเลือนสิ่งที่เชื่อมั่นศรัทธา

宛てない煌めき 儚い揺らめき 漂う幻のように
彷徨いながらも 変わらない場所へ やっとたどり着いた事
闇が陽
(ひ)を奪い 嘘が罪に泣き 過去が未来を裂いても
巡りゆく様に きっとこの場所を 私は選んでいたの

ราวกับแสงระยิบระยับที่ไม่ส่องกระทบ การสั่นไหวเพียงชั่วขณะ หรือภาพลวงตาที่ล่องลอย
แม้ในขณะที่ระเหร่อนเร่ไป ก็ยังดิ้นรนไปจนถึงสถานที่เดิมไม่เคยเปลี่ยนได้ในที่สุด
แม้ความมืดมิดจะช่วงชิงแสงสว่าง คำหลอกลวงจะร่ำไห้ในบาป หรืออดีตกาลจะตัดขาดอนาคต
เพื่อให้ได้วนกลับมา ฉันก็เฝ้าคอยเลือกสถานที่แห่งนี้อย่างแน่นอน

果てしなく遠く 限りなく深く 交わった運命のように
何度もつかんで 何度も失って やっと廻り合えた事
空が地を求め 花が雨を待ち 夜が明日を恋うように
二つの心が 一つだったこと こんなにも求めてたの



ราวกับโชคชะตาที่มาบรรจบกันอย่างยาวไกลไร้จุดสิ้นสุด และลึกซึ้งไร้ข้อจำกัด
ไม่ว่าจะเหนี่ยวรั้งเอาไว้ หรือสูญเสียไปกี่ครั้งกี่หน ในที่สุดก็ได้หวนกลับมาพบกันใหม่
ราวกับท้องฟ้าที่ใฝ่หาผืนดิน ดอกไม้ที่รอคอยหยาดน้ำฝน หรือราตรีที่หลงรักวันใหม่
หัวใจของเราสองคนได้กลายเป็นหนึ่งเดียว ฉันเคยเฝ้าใฝ่หามากถึงเพียงนี้

白い薔薇の花びら ひとつふたつ散る時
優しい朝に染められるでしょう
そして生まれ変わって 貴方の胸に咲けば
二人の愛は永遠になる

ยามที่กลีบกุหลาบสีขาวร่วงโรยไปทีละกลีบ
ก็คงจะแต่งแต้มสีสันให้กับรุ่งเช้าอันอ่อนโยนได้
หลังจากนั้นเมื่อมันได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ และแบ่งบานในหัวใจของเธอแล้วล่ะก็
ความรักของเราสองคนก็จะเป็นนิรันดร


นี่เอามานั่งแปลใหม่ทีละประโยค เมื่อเทียบกับของเก่าที่เคยแปลไว้สมัยม.ปลายแล้วรู้เลยว่าแปลผิดเยอะมาก ทั้งคำศัพท์หรือไวยากรณ์ แต่ตอนที่แปลนั้นก็หาคำศัพท์นะ... เพียงแค่ยังมีความรู้เรื่องไวยากรณ์น้อยเลยทำให้เข้าใจผิด และอ่านคำอธิบายที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเลยไม่รู้เรื่อง แต่อย่างน้อยตอนนี้ก็อ่านเป็นแล้วนะ 555

เอาล่ะ เรามาพูดถึงวิธีการแปลและคอลโลเคชั่นที่น่าสนใจในเพลงนี้กันเถอะขอรับ

1. 花びらが開く ประโยคนี้หากแปลตรงๆ คงเป็นกลีบดอกไม้เปิดออก ซึ่งหากเปลี่ยนให้เป็นภาษาไทยกว่านั้นก็คือกลีบดอกไม้บานออกนั่นเอง
→ จากการค้นหาตัวอย่างการใช้คำว่า 開く ที่เกี่ยวกับดอกไม้จาก http://nlb.ninjal.ac.jp/search/ แล้ว พบว่าจะใช้ 花が開く หรือ 花びらが開く ก็ได้ แต่คำว่า 咲く ที่แปลว่าบานอยู่แล้ว พบว่ามีแต่ 花が咲く อย่างเดียว ไม่มีคำว่า 花びらが咲く

2. 蘇る อ้างอิงจาก http://kotobank.jp/word/%E8%98%87%E3%82%8B มีสองความหมาย คือ 1) ฟื้นคืนชีพหลังจากที่ตายไปแล้ว หรือเกิดใหม่ 2) กลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหลังจากเสื่อมถอยไปแล้ว
→ ในเพลงนี้ใช้คำว่า 記憶が蘇る ก็จะแปลได้ว่าความทรงจำ(ที่เลือนหายไป)ฟื้นกลับคืนมา(จำได้)อีกครั้ง

3. 時間が流れる หากแปลเป็นไทยตรงๆ ก็คงเป็น เวลาไหลไป แต่ถ้าเปลี่ยนให้มันเข้าใจความหมายง่ายขึ้นก็คือ เวลาผ่านไป นั่นเอง
→ จากการค้นหาตัวอย่างการใช้ในนินแจลอีกเช่นเคย ก็พบว่าเขาใช้ 時間が流れる ไม่มี 時が流れる นะขอรับ

4. 満ち引く เป็นหนึ่งในคำที่แปลผิดอย่างมหันต์เมื่อตอนม.ปลาย ตอนนี้แม้จะยังเปิดหาคำนี้ไม่เจอในพจนานุกรมหรือแม้แต่ในนินแจล แต่เมื่อค้นกูเกิ้ลดูก็พบว่าคำนี้ใช้กับกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นก็คือ 潮の満ち引く นั่นเอง

5. 生まれ変わる คำนี้แปลว่าเกิดใหม่ แต่ก็แปลว่าเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ด้วย หรือก็คือเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตใหม่นั่นเอง (ก็การเกิดใหม่ก็เหมือนกับว่าเริ่มต้นชีวิตใหม่นี่นา)
→ 満ち引く揺れに添いながら 人は生まれ変わる ในที่นี้คิดว่า 揺れ ซึ่งปกติจะแปลว่า การสั่นสะเทือน แต่ในประโยคนี้ถ้าจะแปลตรงตัวก็แปลกๆ จึงคิดว่ามันน่าจะหมายความว่า ชีวิตมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกับกระแสน้ำขึ้นน้ำลง และในขณะที่เปลี่ยนไปนั้นผู้คนก็เริ่มต้นชีวิตใหม่

6. 夕日が沈む คำว่า 沈む ปกติแล้วแปลว่าจม หรือรู้สึกกดดัน แต่เมื่อนำมาใช้กับพระอาทิตย์ พระจันทร์ หรือดวงดาว แล้วจะแปลว่าพระอาทิตย์ตกดิน หรือพระจันทร์ หรือดวงดาวหายลับจากขอบฟ้า นั่นเอง

7. 永い眠りほどく คำว่า ほどく แปลว่า แก้หรือปลดออก แต่ในที่นี้อยู่กับคำว่า 永い眠り หากแปลว่า ปลดออกจากการนิทราอันยาวนาน ก็คงจะแปลกๆ เพราะฉะนั้นคิดว่าน่าจะหมายถึง ตื่นขึ้นมาจากนิทราอันยาวนาน มากกว่า
→ เห็นคันจิ 永い ตัวนี้อาจจะงง เพราะคำว่ายาวนานปกติจะใช้คำว่า 長い มากกว่า ด้วยความสงสัยว่าสองคันจินี้ต่างกันยังไง จึงสืบค้นมาจาก http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1410908149 พบว่า 長い ก็คือยาวนานนั่นแหละ แต่ 永い ตัวนี้ เป็นคันจิที่อยู่กับ 永遠 (นิรันดร์)、永久 (นิรันดร์)、永眠 (หลับนิรันดร์ หรือตาย) ซึ่งล้วนให้ความหมายว่ายาวนานจนเป็นนิรันดร์ ดังนั้น 永い ที่ใช้คันจิตัวนี้จึงให้ความรู้สึกยาวนานมาก ยาวนานสุดๆ กว่า 長い ที่ใช้กันโดยทั่วไป

8. เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกว่าชื่อเพลงหมายถึงอะไร 輪廻 แปลว่าการเวียนว่ายตายเกิดตามหลักศาสนาพุทธ หรือก็คือสงสารวัฏหรือวัฏสงสาร ส่วน ロンド เป็นประเภทหนึ่งของเพลงคลาสสิก อ้างอิงจาก http://ja.wikipedia.org/wiki/%E8%BC%AA%E8%88%9E%E6%9B%B2 เพลง ロンド ในภาษาญี่ปุ่นคือ 輪舞曲(りんぶきょく)หรือ 回旋曲(かいせんきょく)
→ 輪廻曲(ロンド) จริงๆ คันจินั้นไม่ได้อ่านว่า ろんど แต่อย่างใด และไม่ได้มีความหมายว่า ロンド ด้วยแต่ในที่นี้คงเป็นการเล่นคำและความหมายมากกว่า

9. 月はやさしく潤む คำว่า やさしい สามารถเขียนได้สองคันจิ ก็คือ 優しい、易しい แต่ในที่นี้ไม่ได้ให้คันจิมา เพราะฉะนั้นก็คงจะเป็นการเล่นความหมาย ทำให้คนฟังสามารถคิดไปได้ทั้ง อย่างอ่อนโยน และอย่างง่ายดาย
→ คำว่า 潤む แปลว่าพร่ามัว ไม่ชัด อย่าถามว่าเอามาใช้กับ 月 ได้เหรอ คือค้นจากนินแจลแล้วมันไม่มี เพราะฉะนั้นคิดว่าในที่นี้คงเป็นการเลือกใช้คำให้ดูสละสลวย ซึ่งคิดว่าน่าจะหมายถึงพระจันทร์ที่ถูกหมู่เมฆบดบัง จึงทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด

10. 吹き迷う คำนี้หาความหมายในกูเกิ้ลไม่เจอ ส่วนในนินแจลก็พบตัวอย่างเพียงแค่ประโยคเดียว ซึ่งก็คือ 肌寒いほどの風が山を吹き迷っていた (สายลมอันเหน็บหนาวพัดผ่านภูเขา)
→ เมื่อดูจากคันจิที่นำมาประกอบกัน คือ 吹く (พัด) และ 迷う (หลงทาง) แล้ว คิดว่าคงหมายถึงพัดวนเวียนอยู่อย่างนั้นเหมือนกับคนหลงทาง

11. 宛てない煌めき คำว่า 煌めき คือ แสงระยิบระยับ ส่วน 宛てる อ้างอิงจาก http://www.weblio.jp/content/%E5%AE%9B%E3%81%A6%E3%82%8B ในที่นี้น่าจะหมายความว่า ทำให้ได้รับผลกระทบจาก แสง ลม หรือฝน เช่น 鉢植えの花は時々日光に宛ててなさい (ให้ดอกไม้ที่ปลูกในกระถางได้รับแสงอาทิตย์เป็นครั้งคราวบ้าง) หรือ 風に宛てて乾かす (ตากลมให้แห้ง) คำว่า 宛てない煌めき ในที่นี้จึงคิดว่าน่าจะแปลว่า แสงระยิบระยับที่ไม่ส่องกระทบ
→ อันที่จริงคำนี้มีหลายความหมายมากเลย แต่ถ้าพูดหมดมันจะยาวมาก ยังจะพูดถึงคำอื่นๆ ในเอนทรี่นี้อีก เพราะฉะนั้นใครอยากรู้ตามลิงค์ไปอ่านเองนะขอรับ

12. 場所へたどり着く คำว่า たどり着く อ้างอิงจาก http://dictionary.goo.ne.jp/leaf/jn2/137805/m0u/ ให้ความหมายว่า 1) บรรลุเป้าหมายหลังจากที่ตามหา 2) ดิ้นรนจนไปถึงในที่สุดหลังจากผ่านความยากลำบาก ต่างจาก 着く ที่แปลว่า ถึง เฉยๆ
→ จะใช้ たどり着く、たどり着く、までたどり着く ก็ได้ เหมือนกับ 行く นั่นแล

13. 嘘が罪に泣く คำว่า に泣く ในที่นี้หมายถึง ร้องไห้เพราะ ซึ่งเมื่อแปลประโยคในเพลงแล้วก็น่าจะหมายถึง คำโกหกร้องไห้เพราะบาป
→ สรุปก็คือ ร้องไห้เพราะอะไรใช้ ~に泣く นั่นเอง

14. 花びらが散る คำว่า 散る แปลว่า ร่วง กระจัดกระจาย (เช่น ดอกไม้) ในที่นี้ 散る จึงแปลว่าดอกไม้ร่วง ตรงข้ามกับคำว่า 咲く (บาน) นั่นเอง


แปลเพลงเดียวก็เหนื่อยและยาวขนาดนี้ แต่ก็ได้ความรู้และศัพท์ใหม่เยอะดี โดยเฉพาะเพลงไหนที่ติดหูแล้วร้องตามได้ เมื่อรู้คำแปล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นคนแปลเอง ก็รู้สึกว่าช่วยให้จำคำศัพท์ได้ดีขึ้น เพราะเวลาจำไม่ได้ก็นึกเนื้อเพลงเอา คำแปลก็จะเข้ามาในหัวโดยอัตโนมัตินั่นเองขอรับ ด้วยเหตุนี้จึงคิดว่าการแปลสิ่งที่ชอบช่วยเรื่องการเรียนรู้และจำคำศัพท์ได้ดีทีเดียว และคิดจะทำต่อไปเรื่อยๆ ขอรับ แต่เอามาอธิบายนี่เหนื่อยจริงๆ นะ 555

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 13 ขอบคุณยังไงดี

วันก่อนดูอนิเมแล้วได้ยินตัวละครพูดขอบคุณ แล้วนึกขึ้นมาได้ว่าเคยเจอประโยคขอบคุณแบบนั้นในนิยายที่แปลเล่นๆ มาก่อนนี่นา ตอนที่แปลนิยายเล่มนั้นก็เพิ่งจะรู้ว่าพูดแบบนี้หมายความว่าขอบคุณ ก็เลยคิดได้ว่าวิธีขอบคุณของคนญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ ありがとう อย่างที่เราคุ้นเคยกัน

เมื่อลองค้นหาดูว่ามีวิธีการพูดขอบคุณขอบใจยังไงได้บ้าง ก็พบกับลิ้งค์นี้ http://ameblo.jp/yagyuhiroshima/entry-10639795525.html ที่รวบรวมเอาไว้หลายแบบเหมือนกัน

ก็อปมาให้ดูเลยละกันนะขอรับ

・ご好意(厚意)ありがとうございました。
→ อันนี้คิดว่าน่าจะขอบคุณที่ทำอะไรสักอย่างให้ ดูจากรูปประโยคแล้วก็รู้ว่าเป็นการขอบคุณอย่างสุภาพมากๆ
・誠にありがとうございます。
→ อันนี้แปลตรงตัวก็คือขอบคุณจากใจจริง
・深く感謝いたします。
→ อันนี้คงเป็นขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
・感謝申し上げます。
→ นี่ก็ขอบคุณอย่างสุภาพสุดๆ
・感謝してやみません
→ อันนี้แปลเป็นไทยคือไม่หยุดขอบคุณ? แต่ถ้าแปลตรงตัวแบบนั้นคงตลก เพราะฉะนั้นน่าจะให้ความหมายว่า "จะสำนึกบุญคุณไปตลอด" มากกว่า
・感謝の限りです。
→ คำว่า 限り นี้เมื่อลองไปสืบค้นดูว่ามีความหมายยังไง ก็พบว่ามันหมายถึง "มากที่สุด" เพราะฉะนั้นถ้าหากจะแปลก็คงเป็น "ขอบคุณอย่างสุดซึ้ง" ล่ะมั้ง
・感謝の念を禁じえません。
→ ดูจากคำศัพท์แล้วคงหมายถึงไม่อาจห้ามใจไม่ให้รู้สึกขอบคุณได้
・本当に助かりました。
→ อันนี้คงเป็น "ช่วยได้มากจริงๆ"
・お礼申し上げます。
→ นี่ก็ขอบคุณอย่างสุภาพมากๆ อีกเช่นกัน
・心からお礼申し上げます。
→ ขอบคุณจากใจ สุภาพเหมือนข้างบน
・お礼の申しようもございません。
→ นี่ก็คงจะเป็นคำสุภาพไม่ต่างอะไรกับข้างบนอีกนั่นแล
・大変お世話になりました。
→ お世話 ที่มักจะหมายถึงช่วยดูแล เมื่อพูดแบบนี้น่าจะหมายความว่า "เป็นพระคุณอย่างสูง"
・嬉しい思いでいっぱいです。
→ แปลตรงตัวก็คือเต็มไปด้วยความทรงจำที่ดี
・胸がいっぱいになりました。
→ อันนี้ก็น่าจะแปลได้ว่าอิ่มอกอิ่มเอมใจ
・お手数をおかけいたしました。
→ อันนี้คล้ายๆ กับว่าขอโทษที่รบกวนเลยแฮะ?
・(多大なる)ご尽力をいただきまして、ありがとうございます。
→ นี่น่าจะเป็นขอบคุณที่ให้ความช่วยเหลือ
・お骨折り賜りありがとうございます。
→ นี่คงเป็นขอบคุณที่อุตส่าห์ลำบากช่วยเหลือล่ะมั้ง?
・格別のご厚情を賜り、心から感謝いたします
→ ขอบคุณจากใจที่ให้ความกรุณา(ช่วยเหลืออะไรสักอย่าง)
・平素は、格別のご厚情を賜り、深謝しております。
→ อันนี้ก็คล้ายๆ กับอันบน 平素 แปลว่าปกติ หรือในอดีต อันนี้ก็น่าจะหมายถึงปกติก็ให้ความกรุณาช่วยเหลืออะไรบางอย่าง หรือไม่ก็เคยให้ความกรุณาช่วยเหลือ จึงรู้สึกขอบคุณอย่างสุดซึ้ง

โอ้ มีวิธีพูดขอบคุณเป็นภาษาญี่ปุ่นมากมายเหลือเกินจริงๆ คงเป็นเพราะคนญี่ปุ่นมี 感謝の意識 เยอะล่ะมั้ง แม้แต่จะพูดว่าทำอะไรให้อย่าง ~てあげる ยังต้องระวังเพราะเป็นการแสดงว่าเรามีบุญคุณกับเขาเลย

ว่าแต่ว่ายังไม่ได้พูดถึงประโยคขอบคุณที่ได้ยินมาจากในการ์ตูนเลย อันที่จริงมีอยู่ในลิสท์ข้างบนแล้ว เพียงแต่คำที่อยู่ข้างบนนั้นเป็นภาษาสุภาพถ่อมตน คำที่ว่าก็คือ お礼を申し上げる หรือถ้าเปลี่ยนเป็นคำธรรมดาก็คือ 礼を言う นั่นเอง

เท่าที่สังเกตจากการฟังและอ่านเจอมา ตัวละครที่พูดว่า 礼を言う ล้วนแต่เป็นเพศชาย ไม่แน่ใจว่าเป็นคำที่มีแต่ผู้ชายที่นิยมใช้หรือเปล่า หรือที่จริงอาจจะมีผู้หญิงพูดก็ได้แค่ยังไม่เคยเจอ เอาเป็นว่าถ้าทราบเกี่ยวกับการใช้ 礼を言う เพิ่มเติมจะเอามาแปะเพิ่มไว้ในบล็อกก็แล้วกันนะขอรับ

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 12 แปลคำทำนาย Part III

มาต่อกันอีกครั้งกับการแปลคำทำนาย คงไม่ต้องเกริ่นนำอะไรยาวมากเพราะได้เกริ่นไปตั้งแต่สองเอนทรี่ก่อนหน้านี้แล้ว

ส่วนสีแดงคือข้อความในคำทำนายขอรับ

ดังคนจรเดินป่าพนาลัย ลัดวิถีทางไกลในพนา
「流浪人のように森を歩き、近道を行く

ต้องโดนหนามเกี่ยวกีดขีดกางกั้น
茨の道を辿り、トゲに刺され」

นี่ ถามหาลาภว่าได้เหมือนใจคิด แต่ติดนิดอุปสรรคมักขัดข้อง
これ、「幸運は思い通りに生まれる。だが、支障でうまくいかない

จะเป็นปากเป็นเสียงเถียงประลอง เฮ้ยพอเหอะ
けんかになる」・・・もう、いい

ต่อจากสองบรรทัดแรก รอบนี้จะมาพูดถึงสองบรรทัดหลังให้หมดในเอนทรี่เดียวก็แล้วกันเพื่อที่เอนทรี่หน้าจะได้เข้าเรื่องอื่นบ้าง

ประโยค "ถามหาลาภว่าได้เหมือนใจคิด" แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นไปว่า 幸運は思い通りに生まれる
- คำว่าโชคลาภคงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก 幸運 นี่แหละ แต่ในภาษาไทยที่บอกว่า "ถามหาลาภว่า" พอแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นก็ไม่ได้แปลไปว่า 幸運なら (ถ้าลาภล่ะก็) แต่แปลเป็น 幸運は (ลาภน่ะ) แทน เพราะคิดว่าประโยคนั้นน่าจะต้องการเน้นว่า "ลาภน่ะ จะได้เหมือนใจคิด" นั่นเอง

- ส่วน "เหมือนใจคิด" ก็มีความหมายว่า "ตามที่คิด" ซึ่งเท่ากับ 思い通り ตอนแรกไม่ได้คิดถึงคำว่า 思うように เลย แต่พอมาเขียนเอนทรี่นี้แล้วนึกขึ้นได้ และเมื่อลองหา 思うように ในกูเกิ้ลก็มีเหมือนกันแฮะ แต่ดูจะนิยมใช้ 思い通り กันมากกว่า?

- ได้ลาภ อันนี้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าภาษาญี่ปุ่นพูดยังไง สาเหตุที่เลือกใช้คำว่า 幸運は生まれる คือช่วงนั้นเพิ่งอ่านการ์ตูนไป ตัวละครตัวนึงพูดว่า 「人間一人売っても笑顔の一つ生まれん商なんぞ・・・」 (การค้าขายแบบที่ถึงแม้จะค้ามนุษย์สักคนก็ไม่ทำให้เกิดใบหน้ายิ้มแย้มขึ้นมาสักหน้าน่ะ...) ในที่นี้ใช้คำว่า 笑顔が生まれる (เกิดใบหน้ายิ้มแย้ม) ก็เลยคิดว่าถ้า 言い換える "ถามหาลาภว่าได้เหมือนใจคิด" ให้เป็น "เกิดลาภเหมือนใจคิด" ก็คิดว่าน่าจะใช้ 生まれる ได้เหมือนกัน หรือก็คือ 生まれる ที่ปกติจะทำให้นึกถึงสิ่งมีชีวิตเกิดมา (ไม่รู้ว่าคิดแบบนี้อยู่คนเดียวรึเปล่า) ก็สามารถใช้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้เหมือนกัน กับ 幸運 นี่ไม่รู้หรอกว่าใช้ได้มั้ย แต่ลองหาตัวอย่างการใช้จาก http://nlb.ninjal.ac.jp/search/ แล้วก็พบว่ามีสิ่งนามธรรมที่ใช้กับ 生まれる เยอะเหมือนกัน เช่น 価値が生まれる、感情が生まれる、考えが生まれる

- "แต่ติดนิดอุปสรรคมักขัดข้อง" อันนี้แปลไปว่า だが、支障でうまくいかない คือไม่ได้แปลตรงตามตัวอักษรว่า "ติดนิด" แต่ 言い換える ให้เป็น "ไม่เป็นไปอย่างราบรื่นเพราะมีอุปสรรค" เพราะถ้า "จะมีลาภก็จริงแต่ติดอุปสรรคนิดหน่อย" มันก็น่าจะหมายความได้ว่า "จะเกิดลาภขึ้นมาเพียงแต่หนทางไม่ราบรื่น" เหมือนกัน จึงเลือกแปลไปอย่างที่เห็นนั่นเอง

- ประโยคสุดท้ายของคำทำนายที่แปล "จะเป็นปากเป็นเสียงเถียงประลอง" นี่เป็นภาษาไทยมาซะยาวเชียว ถ้าจะเอาแต่ความจริงๆ ไม่เยิ่นเย้อ มันก็คือ "จะเกิดการทะเลาะกันขึ้น" ดีๆ นี่เอง ก็เลยแปลไปแบบง่ายๆ ว่า けんかになる ความจริงตอนแรกก็คิดว่าใช้ けんかになったりする ดีมั้ย แต่ไม่รู้ว่า たりする จะเป็นภาษาทางการได้หรือเปล่า (ก็ก่อนหน้านี้ใช้ภาษาทางการหน่อยหมด) ก็เลยตัดไปเหลือแค่ になる เฉยๆ เซฟดี จบขอรับ 555

แค่แปลคำทำนายสั้นๆ ก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว ความจริงคือมาเขียนบล็อกอธิบายเหนื่อยกว่า 555 ยังไงก็ขอจบเอนทรี่การแปลคำทำนายไว้แต่เพียงเท่านี้นะขอรับ

บทที่ 11 แปลคำทำนาย Part II

ต่อจากเอนทรี่ที่แล้ว (บทที่ 10) ที่คราวก่อนลงความหมายของคนจรไปนะขอรับ

เอาคำทำนายมาลงใหม่จะได้ไม่ต้องย้อนกลับไปดู ส่วนสีม่วงคือข้อความที่เป็นคำทำนาย

ดังคนจรเดินป่าพนาลัย ลัดวิถีทางไกลในพนา
「流浪人のように森を歩き、近道を行く

ต้องโดนหนามเกี่ยวกีดขีดกางกั้น
茨の道を辿り、トゲに刺され」

นี่ ถามหาลาภว่าได้เหมือนใจคิด แต่ติดนิดอุปสรรคมักขัดข้อง
これ、「幸運は思い通りに生まれる。だが、支障でうまくいかない

จะเป็นปากเป็นเสียงเถียงประลอง เฮ้ยพอเหอะ
けんかになる」・・・もう、いい

เอนทรี่นี้จะพูดถึงเรื่องการเดินหรือไปนะขอรับ สำหรับแหล่งอ้างอิงตัวอย่างการใช้คำต่างๆ นั้นมาจาก http://nlb.ninjal.ac.jp/search/ ขอรับ

1. คำแรก เดินป่าพนาลัย ใช้คำว่า 森を歩く ก็เพราะว่า
- เดินไปจนสุดทางที่ไหนหรือเดินบนอะไรก็ใช้ ~を歩く เช่น 街を歩く、道を歩く
- ส่วน ~で歩く มักจะใช้ในความหมายที่ว่า เดินด้วย ~ เช่น เดินด้วยขา 足で歩く
- หรือเดินด้วยสภาพ ~ เช่น 裸で歩く、無言で歩く
- หรือไปกับ ~ เช่น 一人で歩く、皆で歩く
- หรือไม่ก็ อันนี้ไม่รู้จะเรียกประเภทให้ยังไงดี ดูตัวอย่างเอาละกันขอรับ 街の中で歩く

2. ลัดวิถีทางไกลในพนา ประโยคนี้ไม่ได้แปลพนาซ้ำเพราะมันจะซ้ำซ้อนและรกเกินไป อีกอย่างถ้าเชื่อมกับประโยคก่อนหน้านี้คิดว่าก็น่าจะเข้าใจได้ว่ายังหมายถึงเดินอยู่ในป่า จึงใช้คำว่า 近道を行く คือเลือก 行く เพื่อไม่ให้ซ้ำกับ 歩く ก่อนหน้านี้
- ปกติจะเจอคำว่า へ行く หรือ に行く บ่อยๆ ซึ่งหมายถึงว่าไปที่ไหน แต่ในที่นี้ความหมายคล้ายๆ กับ を歩く ข้างบน คือไปผ่านทางไหนก็ใช้ ~を行く เช่น 道を行く、街を行く
- อันนี้ความรู้ใหม่ คำว่าเดินอยู่ข้างหน้าก็ใช้คำว่า 前を行く ได้
- อันนี้ก็ความรู้ใหม่เช่นกัน 先を行く จะหมายถึงนำไปข้างหน้าก่อน เช่น 一歩先を行く (นำไปข้างหน้าก่อนก้าวหนึ่ง)

3. คำสุดท้ายที่แปลโดยใช้คำเกี่ยวกับเดิน แม้ว่าในประโยคภาษาไทยจะไม่มีคำว่าเดินเลยก็ตาม "ต้องโดนหนามเกี่ยวกีดขีดกางกั้น" ที่แปลว่า 茨の道を辿り、トゲに刺され
- เหตุผลที่เอาคำว่า 茨の道を辿る มาใส่เพิ่มทั้งๆ ที่ไม่มีคำนี้ในประโยคภาษาไทย ก็เพราะว่าในประโยคก่อนหน้านี้พูดถึงเดินป่าโดยใช้ทางลัด จึงคิดว่าในป่าน่าจะมีพุ่มไม้หนาม และเมื่อเดินผ่านมันไปก็เลยโดนหนามที่ว่าขีดข่วน แต่อีกนัยหนึ่งก็มีความหมายว่าทาง(ทางลัดในป่า)ที่เดินไปนั้นยากลำบาก จะมีอุปสรรค(หนาม)มาขวางทางมากมาย เมื่อนึกถึงความหมายที่แปลไทยเป็นไทยอีกทีแล้วก็นึกถึงคำว่า "เส้นทางที่เต็มไปด้วยขวากหนาม" ก็เลยนึกถึง 茨の道 ซึ่งมีความหมายตามนั้นนั่นเองขอรับ
- ส่วนกริยาที่ใช้คู่กัน ที่ใช้ を辿る เพราะว่าไม่ต้องการให้กริยาซ้ำกับ 歩く หรือ 行く ที่ใช้ไปแล้วก่อนหน้านี้นั่นเอง 555
- พูดถึงคำว่าหนามแล้วหลายคนอาจจะนึกถึง トゲ ก่อน อันที่จริงประโยคหนามเกี่ยวก่อนหน้านี้ก็ใช้ トゲ ไปเหมือนกัน แต่เนื่องจากเคยแปลเพลงเพลงหนึ่งซึ่งมีคำว่าเส้นทางที่เต็มไปด้วยขวากหนาม และใช้คำว่า 茨の道 จึงรู้ว่าคำว่าหนามมีอีกคำคือ 茨(いばら) หลังจากลองสืบค้นดูแล้วก็พบว่ามันน่าจะเป็นสำนวนอยู่แล้ว และไม่พบ トゲの道 ก็เลยเป็นที่แน่นอนว่าต้องใช้ 茨の道 นั่นเอง

สำหรับการแปลการเดิน การไป และเส้นทางในคำทำนายข้างต้นก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ (ก็ที่แปลมันมีแค่นี้) แต่การแปลคำทำนายนี้ยังไม่จบง่ายๆ! เพราะฉะนั้นจะมาต่อเรื่องการแปลประโยคอื่นในเอนทรี่หน้านะขอรับ

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 10 แปลคำทำนาย Part I

ก่อนหน้านี้แปลซับเรื่อง Hormones เลยอยากจะเอามาลง แต่ขอลงแยกเป็นเรื่องๆ ไป เอนทรี่นี้ขอเอาคำทำนายมาลงก่อนนะขอรับ

มันคือคำทำนายที่เต้ยเสี่ยงเซียมซีได้มา แต่ไม่ได้แปลหมด แปลมาเฉพาะส่วนที่เต้ยพูด เพราะในฉากมันโผล่คำทำนายเต็มไม่ถึงสิบวิแล้วก็หายไป ครั้นจะแปลทั้งหมดยัดลงในหน้าเดียวก็เกรงใจคนอ่าน...

ข้อความสีเขียวคือข้อความในใบเซียมซีที่เต้ยได้

ดังคนจรเดินป่าพนาลัย ลัดวิถีทางไกลในพนา
「流浪人のように森を歩き、近道を行く 

ต้องโดนหนามเกี่ยวกีดขีดกางกั้น
茨の道を辿り、トゲに刺され」

นี่ ถามหาลาภว่าได้เหมือนใจคิด แต่ติดนิดอุปสรรคมักขัดข้อง
これ、「幸運は思い通りに生まれる。だが、支障でうまくいかない 

จะเป็นปากเป็นเสียงเถียงประลอง เฮ้ยพอเหอะ
けんかになる」・・・もう、いい

ไม่ได้แปลตรงตามทุกตัวอักษร ไม่ได้ทำให้มันคล้องจอง แบบว่าไม่ได้สามารถขนาดนั้น 555

มาดูกันทีละคำไปเลยละกัน

ดังคนจร ฟังแล้วนึกถึงคนพเนจร และพอนึกถึงคนพเนจรก็นึกถึง wanderer ไม่ก็ vagabond (ความจริงความหมายของสองคำนี้ก็ต่างกันอยู่ อันแรกฟังดูเหมือนคนที่เทียวไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดหมายแน่นอน ส่วนอันที่สองออกเชิงคนจรจัด เมื่อลองหาคำภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายใกล้เคียงสองคำนี้ก็ได้มาหลายคำมาก เช่น 渡り者、流浪人、旅烏、遊子、風来坊、漂泊者、浮浪者、放浪者 เอาล่ะสิ เยอะขนาดนี้จะเลือกใช้คำไหนดี ก่อนอื่นก็มาดูความหมายของแต่ละคำก่อนดีกว่า

渡り者(わたりもの) → 1. คนที่ไปโน่นมานี่ เปลี่ยนเจ้านายไปเรื่อยๆ
                                           2. คนที่จรไปเรื่อยๆ ไม่ลงหลักปักแหล่ง
                                           3. คนที่มาจากถิ่นอื่น แล้วมาอาศัยอยู่ที่นี่
流浪人(るろうにん) → 1. คนที่ไม่ตัดสินใจเลือกอาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วเร่ร่อนไปเรื่อยๆ
旅烏(たびがらす) → 1. คนที่ท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ ไม่ปักหลักอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
                                         2. คนที่มาจากถิ่นอื่น
                                         (ความหมายตามคันจิคือกาที่ไม่มีรังเป็นของตัวเอง เป็นคำแสดงการดูถูก)
遊子(ゆうし) → 1. คนที่จากบ้านไปอาศัยอยู่ที่อื่น
                                2. นักท่องเที่ยว
風来坊(ふうらいぼう) → 1. คนที่ไม่รู้ที่มาที่ไป
                                               2. คนที่ไม่รู้ที่มา และไม่หยุดพักอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
漂泊者(ひょうはくしゃ) → 1. คนที่ไม่ลงหลักปักแหล่ง พเนจรไปเรื่อยๆ
浮浪者(ふろうしゃ) → 1. คนที่จรไปเรื่อยๆ ไม่ลงหลักปักแหล่ง (เคยเป็นคำญี่ปุ่นของ ホームレス)
放浪者(ほうろうしゃ) → 1. คนที่จรไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดหมายปลายทาง

ดูๆ ไปแล้วความหมายก็เหมือนๆ กันทั้งนั้น สารภาพตามตรงเลยว่าสาเหตุที่เลือก 流浪人 ไม่ใช่เพราะเช็คความหมายแล้วมันเหมาะสมที่สุด แต่เลือกโดยที่ไม่ได้เช็คความหมายของทุกคำที่ให้ไปข้างต้นก่อน ด้วยเหตุผลคือมันคล้ายชื่อการ์ตูนเรื่อง るろうに剣心 55555

นอกจากนั้น บางคำอย่างเช่น 旅烏 นี่ไม่ใช้อยู่แล้วเพราะมันออกแนวดูถูก (จริงๆ ก่อนจะเลือกใช้คำใดคำหนึ่งไม่ได้รู้หรอกว่าคำนี้มันเชิงดูถูก) ส่วน 遊子 นี่ก็ออกแนวท่องเที่ยว แล้วอย่างคำว่า 浮浪者 อะไรแบบนั้นก็มีความหมายเหมือนจรจัด ซึ่งฟังดูเป็นความหมายทางลบไปหน่อย ก็เลยคิดว่าถ้าใช้คำที่หมายถึงพเนจรไปเรื่อยๆ เพราะไม่อยากลงหลักปักฐานน่าจะฟังดูดีกว่า แล้วประโยคที่บอกว่า "เดินป่าพนาลัย" นี่ก็ออกแนวพเนจรท่องเที่ยวมากกว่า ไม่ใช่พเนจรเพราะจรจัด ไร้ที่อยู่อาศัย เพราะงั้นจึงเลือกใช้คำที่ให้ความหมายว่า wanderer มากกว่า vagrant นั่นเอง

แค่หาความหมายของคนจรก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว 555 เพราะฉะนั้นเอนทรี่นี้ขอค้างไว้เพียงเท่านี้ก่อน แล้วจะมาทำภาคต่อเรื่องคำแปลเซียมซีนี้ใหม่ในเอนทรี่หน้านะขอรับ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 9 ご馳走様でした!

เอนทรี่นี้ว่าด้วย Task สุดท้ายที่เป็นการบ้าน นั่นก็คือการส่งจดหมายไปขอบคุณ

จดหมายที่เป็นหัวข้อในคราวนี้ก็คือ お礼メール ขอบคุณอาจารย์ที่กรุณาเลี้ยงอาหารนั่นเอง


เฉพาะส่วนเนื้อหาที่ส่งไปนั้นก็สั้นๆ ยังไม่ค่อยมีอะไรมาก ก็รู้สึกว่าแบบเป็นเมลขอบคุณ ก็ไม่รู้จะเขียนอะไรให้มันยาว สุดท้ายก็ได้มาแค่ประมาณนี้เองขอรับ


 先日はラーメン停というラーメン屋で食事をおごって下さって、誠にありがとうございました。タイではあのようなおいしいラーメンを食べるのは初めてでした。いいラーメン屋をご紹介くださって、再びありがとうございました。あの屋は私の家から遠いですが、機械があれば、ぜひまた食事をしに行きます。


ก่อนอื่นก็มา 反省 อันข้างบนก่อน อันที่จริงอาจารย์ไม่ได้แก้อะไรกลับมาให้ แต่ก็อาจจะมีส่วนที่ผิดอยู่ ยังไงก็จะพูดถึงส่วนที่คิดว่าแปลกๆ หรือน่าจะทำให้ดีกว่านี้ได้ หรืออื่นๆ ก็แล้วกันนะขอรับ


1. 食事をおごって下さって นี่ ดูเหมือนว่าจะใช้ ご馳走になり แทนก็ได้


2. ส่วน あのようなおいしいラーメン จริงๆ ตอนใช้ก็รู้สึกแปลกๆ เพราะปกติคุ้นเคยกับ あんな ไปเลยมากกว่า แต่ด้วยความที่คิดว่ามันสุภาพน้อยกว่า บวกกับจำได้ว่าเคยเห็นในหนังสือ J501(มั้ง?) บอกไว้ว่า ~んな จะให้ความหมายในแง่ลบ ก็เลยใช้ あのような ไปซะเลย แม้ตัวเองจะรู้สึกแปลกๆ เพราะไม่ชินก็ตาม...


3. 食べのは初めてでした ดูเหมือนจะผิดแหละ... ที่จริงต้องเป็น 食べのは初めてでした เพราะว่าได้กินไปแล้ว ถ้าใช้ ~のは初めて นี่น่าจะหมายความว่าจะได้ทำเป็นครั้งแรก มั้ง อันนี้คิดเองนะขอรับ 555


4. 再びありがとう อันนี้อยากจะพูดว่าขอบคุณอีกครั้ง แต่ก็ไม่รู้ว่าควรจะพูดยังไง... ตอนแรกก็ลังเลอยู่ระหว่าง またありがとう แต่ก็รู้สึกว่ามันแปลกๆ ไม่น่าจะเข้ากัน หรือจะใช้ 改めて อันนี้ก็รู้สึกประหลาดอยู่ดี (คิดไปเอง) ก็เลยใช้ 再び ไป ปรากฏว่าเพิ่งจะลองค้นหาในกูเกิ้ลดู ก็พบกับ 改めて感謝いたします จากเว็บที่บอกประโยคตัวอย่างที่ใช้ในธุรกิจ (http://www.berlitz.co.jp/phrase/02index.html) แต่กลับไม่พบคำว่า 再びありがとう แต่อย่างใด ไม่รู้ว่าหาไม่ดีหรือมันไม่มีจริงๆ แต่สรุปแล้วที่คิดว่า 改めてありがとう แปลกนี่คิดไปเองจริงๆ ด้วย 555 ไม่งั้นมันก็คงจะแปลกเพราะ 改めて ดูเป็นทางการ ในประโยคตัวอย่างที่พบก็ใช้คู่กับคำถ่อมตน... เอาเป็นว่ามันเป็นความรู้ใหม่ จะจำไว้ใช้นะขอรับ


5. あの ปกติมักจะเห็น 屋 ตามหลังประเภทร้าน หรือไม่ก็เป็นคำแสดงความหมายว่าคน (恥ずかしがり屋、等) พอจะเอามาใช้โดดๆ แบบนี้ก็รู้สึกเองอีกนั่นแหละว่าแปลก แต่ว่าก่อนหน้านี้ที่พูดถึงร้านราเมง ก็เป็น ラーメン屋 ไป ถ้าจะเปลี่ยนเป็น 店 ก็เลยรู้สึกแปลกอีก - -" อาจจะคิดไปเองก็ได้ 555 ว่าแต่สรุปแล้วร้านที่เรียกลงท้ายว่า 屋 จะเรียกว่าเป็น 店 ได้มั้ย น่าสงสัยยิ่งนัก...


6. ความจริงตอนแรกคิดว่าจะเขียนขอบคุณด้วยประโยค 感謝しても、しきれません (ขอบคุณเท่าไรก็ไม่พอ) เพราะเพิ่งอ่านเจอในการ์ตูน 555 แต่ก็มาคิดได้ว่ามันดูโอเวอร์เกินไปที่จะใช้พูดเมื่ออีกฝ่ายเลี้ยงอาหารเพียงครั้งเดียว ไม่งั้นก็ต้องรู้สึกเป็นพระคุณมาก แบบถ้าไม่เลี้ยงคงอดตายแน่ๆ อะไรประมาณนั้นถึงจะพูดแบบนี้ล่ะมั้ง


7. นอกจากนั้นตอนแรกยังอยากจะเขียนต่อให้ยาวเล่นๆ ด้วยว่าถ้าอาจารย์(ที่เลี้ยง)ชอบอาหารไทย จะแนะนำร้านอาหารไทยเด็ดๆ ให้ แต่ก็คิดว่าถ้าเขียนไปแบบนั้นอาจารย์คงจะต้องส่งเมลกลับมาอีกรอบ ก็เลยไม่เขียนดีกว่า 555 ปรากฏว่าอาจารย์กนกวรรณบอกว่ามันเป็นหนึ่งในวิธีสานสัมพันธ์ต่อในอนาคต... เอาไว้จะลองใช้หากมีโอกาสนะขอรับ


หลังจากนั้นก็อันที่อาจารย์ให้ลองเขียนใหม่ในห้อง โดยมีประโยคนำให้แล้วให้มาเขียนขยายความต่อเอาเอง


 昨日は、すてきなお店でおいしい料理をごちそうになり、ありがとうございました。

 タイではあんなにおいしい日本料理を食べたのは初めてでした。料理の味はタイの全国に支店がある日本レストランのと大きく違ったと感じられました。値段は少し高いと存じますが、料理の味と食材の新鮮さでは適正価格だと存じます。

 今度、バンコクにいらっしゃる機械があれば、私の学校にもお立ち寄りください。田中先生とお目にかかれるのを楽しみにしています。


ส่วนสีม่วงเข้มนั้นคือประโยคที่มีมาให้อยู่แล้ว และสีม่วงบานเย็นคือประโยคที่ต่อเติมเสริมแต่งคำว่า おいしい料理 ในประโยคก่อนหน้านี้เอาเอง


เนื่องจากที่ให้มาเขียนแค่สามบรรทัด เลยเวิ่นได้เท่านี้ 555 ในส่วนของ あんな นี่ก็ลองใช้ตามแบบที่คุ้นเคย โดยที่ยังไม่รู้เหมือนเดิมว่าควรจะใช้ あのような แบบข้างบน หรือ あんな แบบนี้แหละดี ส่วน 食べたのは初めてでした นี่ก็แก้จากข้างบนแล้ว แล้วก็มีเรื่องคำศัพท์ใหม่ที่ได้มาจากตัวอย่างในห้อง คือ 食材 (ส่วนประกอบในอาหาร) และ 適正価格 (ราคาสมเหตุสมผล) ที่ไม่มีใครสอนแต่เปิดดิกเจอก็เลยเอามาลองใช้ดูขอรับ

ไม่รู้ถูกผิดยังไง หากท่านใดมีคำแนะนำดีๆ ก็ขอความกรุณาชี้แนะด้วยนะขอรับ m(_ _)m

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 8 อุปสรรคมีไว้ให้ฟันฝ่า

เอนทรี่นี้ขอต่อเนื่องจากบทที่แล้ว ที่พูดถึงคำที่มีความหมายว่าผ่านพ้นความยากลำบากไป ที่ตั้งชื่อเอนทรี่แบบนี้ไม่ได้หมายความว่าคนเขียนเป็นพวกมีกำลังใจเต็มเปี่ยม พร้อมจะสู้กับความยากลำบากทุกประเภทหรอกนะ 555

ที่ว่าต่อเนื่องกันเพราะในการบ้านชิ้นที่เคยเขียนว่า 乗り越える กับ 乗り切る ไปได้เขียนว่า 困難と闘う ไปด้วยนั่นเอง

เห็นคันจิ 闘う อาจจะงง มันอ่านว่า たたかう พอเห็นคำอ่านแล้วก็น่าจะรู้ว่าแปลว่าต่อสู้ ว่าแต่ว่า 闘う นี้มีความหมายต่างจาก 戦う ที่อ่านเหมือนกันเด๊ะ แปลว่าต่อสู้เหมือนกันอีกต่างหากยังไง ก็ลองมาสืบค้นกันดู

อ้างอิงจาก http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1214861642 และ http://kotobank.jp/word/%E6%88%A6%E3%81%86%E3%83%BB%E9%97%98%E3%81%86 ก็ได้ความแตกต่างของ 闘う・戦う ว่า

たたかう มีความหมายว่า
戦う 1. ใช้อาวุธหรือสิ่งต่างๆ เพื่อเอาชนะอีกฝ่าย
闘う 2. ต่างฝ่ายต่างใช้กำลังความสามารถเข้าแข่งขันกัน
        3. ใช้ความพยายามฝ่าฟันอุปสรรค ความยากลำบาก

สรุปคือ 戦う ตัวนี้ใช้คันจิที่มาจาก 戦争 ซึ่งแปลว่าสงคราม และในสงครามก็ใช้อาวุธเข้าฟาดฟันกันเพื่อเอาชนะศัตรู
ส่วน 闘う ก็อยู่ในคำว่า 闘争(とうそう) ซึ่งแปลว่าการแข่งขัน ความขัดแย้งมากกว่า วิธีจำความแตกต่างก็คงประมาณนี้ล่ะมั้ง?

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 7 แล้วมันจะผ่านพ้นไป

ช่วงหลายปีมานี้บ้านเมืองเกิดเหตุการณ์ไม่ค่อยสงบบ่อยจริงๆ ปีนี้ก็เป็นอีกปีหนึ่งที่เป็นอย่างนั้น นอกจากนั้นก็ยังเป็นปีที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง เพื่อนสนิทหลายคนก็จะเดินทางไปแลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่นเป็นเวลาหนึ่งปี กลับมาก็ไม่ได้เรียนด้วยกันแล้ว แล้วปีนี้ก็เปลี่ยนช่วงเวลาเปิดเทอมใหม่ตามอาเซียนด้วย

เกริ่นมาดูเหมือนจะพูดเรื่องอะไรซีเรียส ความจริงก็แค่ก่อนหน้านี้เคยใช้คำที่แสดงความหมายว่าผ่านพ้นความยากลำบากไปได้เขียนในการบ้าน ก็เลยคิดถึงคำที่ว่านั้นขึ้นมา แล้วก็คิดว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนี้จะใช้คำนั้นได้หรือเปล่านะ?

คำที่ว่าก็คือ 乗り越える นั่นเอง แล้วก็มีอีกคำที่คล้ายๆ กัน 乗り切る ว่าแต่สองคำนี้ต่างกันยังไงล่ะ? วันนี้ก็เลยลองศึกษาวิธีการใช้ดู

ตอนที่เขียนการบ้าน เขียนเรื่องเดียวกันแท้ๆ แต่เจอสองคำนี้เลยลองใช้ไปทั้งสองคำเลย ถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ 555

ก่อนอื่นมาดู 乗り越える

อ้างอิงจาก http://dictionary.goo.ne.jp/leaf/jn2/172562/m0u/ ได้ความหมายมาสามอย่าง คือ

1. ผ่านขึ้นไปบนสิ่งสิ่งหนึ่งแล้วไปยังอีกฟากฝั่ง

2. ข้ามผ่านระดับที่เคยมีคนทำเอาไว้ก่อนแล้ว เช่น ทำผลงานออกมาได้ดีกว่าที่พ่อแม่เคยทำเอาไว้ 両親を乗り越えた (<< อันนี้แต่งเอง อย่าเพิ่งเชื่อ)

3. ผ่านพ้นความยากลำบากแล้วก้าวต่อไปข้างหน้าได้

ตัวอย่างการใช้ 乗り越える ที่สืบค้นมาจาก http://nlb.ninjal.ac.jp/ ก็มีเยอะอยู่ แต่จะขอเจาะความหมายในข้อที่ 3 อย่างเดียวนะขอรับ เช่น

- 危機を乗り越える ผ่านพ้นวิกฤตการณ์
- 困難を乗り越える ผ่านพ้นความยากลำบาก
- 障害を乗り越える ผ่านพ้นอุปสรรค
- 苦難を乗り越える ผ่านพ้นความทุกข์ทรมาน
- 悲しみを乗り越える ผ่านพ้นความเศร้าเสียใจ

ดูแล้วเหมือนจะให้ความหมายว่าเมื่อผ่านพ้นสิ่งต่างๆ เหล่านั้นไปได้ชีวิตก็น่าจะดีขึ้นมาอีกนิด

ต่อมาก็ 乗り切る

คำว่า 乗り切る นั้น อ้างอิงจาก http://dictionary.goo.ne.jp/leaf/jn2/172550/m0u/ ก็ได้ความหมายมาสามอย่างเช่นกัน คือ

1. นั่ง(พาหนะ)ไปจนถึงอีกฟากฝั่ง

2. ผ่านพ้นความยากลำบาก วิกฤตการณ์ (อันนี้เหมือน 乗り越える แฮะ)

3. นั่งไปจนสุดทาง

ตัวอย่างการใช้ที่สืบค้นมาจากเว็บเดียวกับข้างบน เจาะความหมายข้อ 2 ที่คล้ายกับข้างบน ก็เช่น

- 危機を乗り切る ผ่านพ้นวิกฤตการณ์
- 困難を乗り切る ผ่านพ้นความยากลำบาก
- 苦境を乗り切る ผ่านพ้นปัญหา
- 状況を乗り切る ผ่านพ้นสถานการณ์
- 今日を乗り切る ผ่านพ้นวันนี้
- 冬を乗り切る ผ่านพ้นฤดูหนาว

จะเห็นได้ว่าคำนี้มีใช้กับช่วงเวลาด้วย

ลองสังเกตตัวอย่างคำนามที่ใช้คู่กับกริยาทั้งสองคำนี้ ก็คิดว่า 乗り越える ที่มี 越える (ก้าวข้าม) ความหมายออกแนวก้าวข้ามผ่านอะไรสักอย่างไป ส่วน 乗り切る ที่มี 切る ที่เมื่ออยู่ต่อท้ายคำกริยาอื่นจะให้ความหมายว่าทำอะไรสักอย่างจนลุล่วง ก็เข้าใจว่าคำนี้หมายความว่า เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ หรือช่วงเวลาหนึ่งไปจนกว่ามันจะสิ้นสุดลง และเมื่อสิ้นสุดลงก็จะเท่ากับว่าผ่านพ้นมันไปแล้ว คล้ายๆ กับ 乗り越える นั่นเอง กริยาทั้งสองคำนี้จึงสามารถใช้กับคำนามเหมือนกันได้บางคำตามที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น อันนี้คือสิ่งที่ตัวเองเข้าใจนะขอรับ

ถ้ามันใช้กับ 困難 ได้ทั้งคู่ก็แสดงว่าที่เคยใช้ทั้งสองคำเขียนการบ้านไปไม่น่าจะผิดหรือเปล่า? ฮะๆๆ

ภาษาญี่ปุ่นช่างเป็นภาษาที่ละเอียดซับซ้อนจริงๆ...

さあ、皆さん、大学3年生の2学期を一緒に乗り越えましょう!

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 6 先生の弟子になりたい!

เอนทรี่นี้มาด้วยหัวข้ออยากฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ซึ่งใช้คำถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ พอดีไปค้นมาแล้วพบว่า 弟子 เป็นคำตรงข้ามของ 師・師匠 และจากการสืบค้นกูเกิ้ลมาอีกที ได้ความหมายและวิธีการใช้คำว่า 師 อ้างอิงจาก http://dictionary.goo.ne.jp/leaf/thsrs/9745/m0u/ ได้ความดังนี้

  • 1. 師 = เป็นคำที่ใช้แพร่หลายที่สุด มีความหมายว่า 先生 ในแบบที่โบราณและดูเป็นทางการเล็กน้อย ให้ความรู้สึกเคารพนับถือ
  • 2. 師匠(ししょう)・師範(しはん) = มักจะใช้ในกรณีที่หมายถึงอาจารย์สอนศิลปะการแสดง (หมายถึงศาสตร์ดั้งเดิมของญี่ปุ่นด้วยก็ได้)
  • 3. 師範(しはん) = อาจหมายถึงคนที่เป็นแบบอย่าง มีคุณสมบัติ ใบรับรอง (ถ้าเข้าใจไม่ผิด)

เรื่องของเรื่องที่เอาคำนี้มาพูดถึงเพราะสองคำแรก (師・師匠) เคยได้ยินมาจากในการ์ตูนนั่นเองขอรับ ฮ่าๆ รู้สึกว่าตัวเองคุ้นกับคำเรียกอาจารย์มากกว่า แต่พอลองกลับไปฟังดีๆ อีกที ก็ได้ยินคำว่า 弟子 เหมือนกันแฮะ แค่ตอนแรกไม่ได้สังเกต...

ปกติที่เราเรียนกันในโรงเรียน แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องรู้จัก 先生 แน่ๆ แต่คำนี้ในภาษาญี่ปุ่นใช้ได้กว้างสุดๆ หมายถึงทั้งครูบาอาจารย์ตามโรงเรียนหรืออื่นๆ หมายถึงแพทย์ หรือแม้แต่นักเขียนก็ยังเรียกด้วยคำนี้ คิดเอาเองแบบไม่ได้ค้นจากไหนว่าคงจะหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญศาสตร์ต่างๆ สินะขอรับ

ส่วนครูอาจารย์ที่สอนหนังสือก็ใช้คำเรียกว่า 教師 อยู่แล้ว อันนี้ก็คงรู้ๆ กัน ส่วนคำตรงข้ามก็คงจะเป็น 生徒 ล่ะมั้ง...

เข้าเรื่องเถอะ... ความจริงแล้วเอนทรี่จะมา 反省 จดหมายขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์นักกีต้าร์ชื่อดังนั่นเองขอรับ เมื่อกี้นอกเรื่องไปซะยาว

สำหรับสิ่งที่ 書き直し ไปนั้น...

はじめまして、~と申します。突然メールを差し上げる失礼をお許しください。

 先生のホームパージを見て、先生の個人レッスンをぜひ受けたいと思いました。レッスンを受けていただけるかどうか、お尋ねしたいと思います。

 私の趣味はフラメンコギターで、5年ほど毎週1時間フラメンコギターのレッスンを受けてきました。ずっと~先生を尊敬しています。将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいと思っています。先生の個人レッスンを受けられれば、その夢にあと一歩のところまで迫れると思います。

 ただ、私は大学生で月曜から金曜まで授業がありますので、土曜・日曜しかレッスンに通えません。

 お手数ですが、レッスンを受けさせていただけるかどうか、お知らせいただけませんでしょうか。日時を指定していただければ、先生のところにご相談に伺わせていただきます。

 どうぞよろしくお願いいたします。

ที่ทำสีเหลืองอ่อนไว้ ขอสารภาพว่าส่วนนี้ก็อปตัวอย่างมาหมด ส่วนสีเหลืองเข้มขึ้นมาอีกนิดนี่ก็ดูตัวอย่างมาแต่เปลี่ยนคำเล็กน้อย อย่าใส่ใจเลยขอรับ 555 คิดว่าถ้าต้องเขียนจดหมายฝากตัวจริงๆ ก็คงจะก็อปเอาแพทเทิร์นแบบนี้ไปเขียนเหมือนกัน... เพราะฉะนั้นสนใจสีน้ำเงินที่ไม่ได้ก็อปมาทั้งดุ้นดีกว่า ส่วนสีแดงคือส่วนที่อาจารย์คอมเม้นต์มาให้ขอรับ

ขอพูดส่วนที่อาจารย์คอมเม้นต์มาก่อนก็แล้วกัน
จุดแรก 5年ほど~てきました อันนี้อาจารย์บอกว่าควรจะมี 前から ต่อท้าย เพราะข้างหลังใช้กริยาที่แสดงการกระทำต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โอ้ววว ความรู้ใหม่ ขอบพระคุณมากขอรับ m(_ _)m
จุดที่สอง 迫れる อาจารย์บอกว่าคำนี้แรงไป น่าจะเปลี่ยนไปใช้ 近づくことができる จะดีกว่า อันนี้ก็เพิ่งรู้เช่นกันว่าการใช้กริยาบ่งบอกความสามารถโดยตรง (บวกกับใช้คำว่า 迫る) มันฟังดูแรงเกินไป พอดีอ่านนิยายเจอคำว่า あと一歩のところまで迫る ก็เลยลองเอามาใช้ดูน่ะขอรับ (ความจริงนนิยายหมายถึงเข้าใกล้อย่างอื่นไม่ใช่ความฝัน)

ต่อมาจะเป็นการ 反省 ตัวเองนะขอรับ

ประเด็นแรก ในกรณีที่เขียนจดหมายถึงคนที่ไม่รู้จักเป็นครั้งแรก ควรลงท้ายชื่อ 様 ดีกว่า さん แต่ถ้าอีกฝ่ายเป็นอาจารย์ ใช้ 先生 จะดีที่สุด ตอนแรกตัวเองเขียนว่า ~さん ไป เพิ่งจะมาเข้าใจความแตกต่างก็ตอนนี้เอง...

ประเด็นที่สอง คือการลอกข้อความในคำสั่งมาใส่ในสิ่งที่เขียน เพราะคิดไม่ออกว่าควรจะเขียนอะไรนั่นเอง 555 ที่จริงข้างบนที่ 書き直し ไปแล้วก็ยังมีส่วนที่เอามาจากในคำสั่งอยู่ (เช่น 将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいと思っています。) แต่อันนี้ดูเหมือนจะไม่ผิดอะไร เพราะงั้นมาพูดถึงส่วนที่ไม่ควรแค่ลอกมาจากคำสั่งดีกว่าขอรับ คำแรกก็คือ
詳しいことを問い合わせ อันนี้ได้รับคอมเม้นต์ในห้องพร้อมกับที่ได้ชีทตัวอย่างว่าเป็นคำถามที่กว้างเกินไป จะไปขอฝากตัวเป็นศิษย์เขาไม่ควรจะรบกวนให้เขามาอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างให้ฟังใหม่ทั้งหมด แต่ควรจะเจาะประเด็นไปเลยว่าอยากรู้อะไร เขาจะได้ตอบได้ถูกประเด็น

ประเด็นที่สาม เพื่อนคอมเม้นต์มาในประโยคที่ว่า フラメンコギターを弾き始めてから~さんがずっと私のアイドルです。 ว่าประโยคนี้ตอนแรกประธานเป็นตัวเอง แต่ประโยคที่สองประธานกลับเป็นคนอื่น มันเลยแปลกๆ ตอนเขียนไม่ได้คิด แต่พอเพื่อนคอมเม้นต์มาแบบนี้แล้วก็เพิ่งมาคิดว่าจริงด้วยแฮะ สรุปแล้วถ้าประโยคแรกจะบอกว่า フラメンコギターを弾き始めてから ประโยคหลังก็ควรจะเปลี่ยนเป็นตัวเองยึดเอาอีกฝ่ายเป็นไอด้อลแทน คือเปลี่ยนให้ประธานยังคงเป็นตัวเองเหมือนในประโยคแรก ว่าแต่ว่าถ้าจะบอกว่ายึดเอาอีกฝ่ายเป็นอะไรสำหรับตัวเองนี่จะพูดยังไงหว่า? ずっと~さんを私のアイドルとして尊敬している จะได้ไหมหว่า? ประโยคที่ว่านี้ยังไม่มีใครตรวจให้ ก็เลยยังไม่แน่ใจว่าจะเขียนแบบนี้ถูกหรือเปล่านะขอรับ

ประเด็นที่สี่ ระดับภาษาที่ต่างกันในประโยคความรวม/ซ้อน คือจบประโยคแรกด้วยรูปธรรมดา แล้วจบประโยคสุดท้ายด้วยรูปสุภาพ เช่น ~なったので、~します。 ในตอนแรกเขียนไปแบบนั้นแหละขอรับ แต่เพื่อนก็แก้มาให้เป็น ~なりましたので แทน อันนี้ก็เข้าใจว่าเนื่องจากเป็นการเขียนถึงคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน และอีกฝ่ายเป็นคนที่สูงกว่า คนที่เราต้องการไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยก็ต้องใช้คำสุภาพให้หมดทั้งประโยค แต่เนื่องจากตอนม. ปลายเรียนมาว่ากลางประโยคให้ผันเป็นรูปธรรมดาแล้วลงท้ายค่อยใช้รูปสุภาพ ก็เลยติดการใช้แบบนั้นมาจนถึงตอนนี้ - -" ต่อไปจะพยายามระวังเรื่องนี้ให้มากขึ้นขอรับ

ที่จริงยังมีเรื่องอื่นๆ ที่เป็นความรู้ใหม่จากในห้องเยอะแยะเลย เช่น วิธีการเขียนเริ่มต้นจดหมายเมื่อเขียนถึงคนที่ไม่รู้จักเป็นครั้งแรก ที่ไม่ได้เขียนไว้ในการเขียนครั้งแรก การใช้ へ・より ประโยคปิดท้ายจดหมาย การใช้ 拝啓・敬具 ฯลฯ แต่มันเยอะมากจึงขอละไว้ เอนทรี่นี้เขียนแค่ 反省 ตัวเองในจุดที่เขียนผิดก็แล้วกันนะขอรับ

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 5 面白く語る

ใช้ชื่อบทความว่าเล่าเรื่องให้สนุกก็จริง แต่ตอนเล่าจริงมันไม่ได้ฟังแล้วสนุกหรอก มีแต่ฟังแล้วขำเพราะพูดผิดๆ ถูกๆ ไม่ก็พูดอะไรแปลกๆ มากกว่า (ฮา)

สรุปแล้วเอนทรี่นี้คือการ 反省 การเล่าเรื่องจากภาพที่เป็น Task ของปีที่แล้วแต่เพิ่งมาอัพบล็อกเอาตอนนี้ เรื่อง それは秘密です กับ 過去のことを語る นั่นเอง

ไม่ค่อยอยากเอาที่พูดไว้มาลงเลย อับอาย 555 แต่เนื่องจากไม่ได้เขียนแก้ใหม่ ถ้าไม่เอาอันเก่ามาลงก็ไม่รู้จะทำให้เห็นสิ่งที่ผิดอย่างชัดๆ ยังไง เอาเถอะ ลงก็ลง

それは秘密です

私はね、整形美人ですもの。そのおかげで、優しくて素敵な彼氏ができたんですが、ある日、気の緩みから彼に過去の写真を見られちゃって、私はとてもびっくりしましたよ。でも、彼は気にしなくて良いって言ってくれたんなぜなら、その時、彼は自分の髪を触って、そして、頭からかつらを引き出しんだ。彼は実ははげ頭だったの。そう見た私は元よりびっくりした


過去のことを語る

ねえ、知ってる?私はね、先週、日本に行くことにしましたよ。でもね、もう切符を買ってきたのに、出発日に朝寝坊のせいで、空港に着いた時、日本に行く飛行機はもう出発したん。私はとても悲しく家に帰った。それから、テレビを見て、その後1時間ぐらい、テレビニュース私が乗るはず飛行機は落ちてしまったん。その飛行機に乗らなくてよかったと思った

ตัวฟ้าคือระดับภาษาที่ใช้ผิด ตัวแดงคือสิ่งที่อาจารย์ขีดเส้นใต้มาให้

ต่อจากนี้จะเป็นการ 反省 ตัวเองในสิ่งที่ผิดและเห็นได้ชัดนะขอรับ

ประเด็นแรก เห็นได้ชัดสุดๆ เป็นความผิดของทั้งสองการเล่า นั่นก็คือการใช้ระดับภาษาที่ต่างกัน เช่น ประโยคหนึ่งเป็น だ ประโยคต่อมาเป็น です เป็นความผิดโดยที่รู้ตัวว่าผิด แต่ให้พูดกี่ทีก็ยังผิดอยู่นั่นเอง OTL แบบว่าปกติที่เคยเรียนมาตอนแรกๆ น่ะจะเรียนแบบ です มาตลอด แล้วพอต้องมาใช้รูป だ มันก็เลยไม่ชิน อีกอย่าง เวลาพูดกับเพื่อนตอนที่อาจารย์สั่งให้ role play หรืออะไรแบบนั้น บางทีก็ไม่รู้ว่าควรจะใช้ だ หรือ です ดี เวลาพูดจริงมันเลยออกไปปะปนทั้งสองแบบอย่างน่าเกลียดจริงๆ 55

ประเด็นที่สอง  เริ่มจาก 秘密 ก็แล้วกัน ประโยคแรกที่พูดไปเลย ですもの ความจริงมันควรจะใช้อธิบายว่าอะไรเป็นอะไรทีหลังสินะ คือตอนแรกอยากจะอธิบายว่าไปศัลยกรรมมาไงก็เลยลองใช้คำนี้ รู้สึกเหมือนได้ยินบ่อยแต่ไม่เคยใช้เองเลยอยากพูดขึ้นมา 555

ประเด็นที่สาม ของเรื่อง 秘密 ที่ใช้ なぜなら แต่ลงท้ายด้วย ~んだ ตอนพูดลืมไปว่ามันต้องใช้ からだ ลงท้ายต่างหาก - -" คือคิดว่า のだ มันใช้อธิบายเหตุผลได้เหมือนกันเลยพูดเป็น のだ ไปแทน ลืมคิดถึงเรื่องที่ว่าตอนแรกใช้ なぜなら ขึ้นต้น

ประเด็นที่สี่จุดหนึ่ง เรื่องการใช้คำศัพท์และคำช่วยของเรื่อง 秘密 ผิดเยอะมากขอรับ เนื่องจากบางคำคิดไม่ออกว่าควรจะใช้คำศัพท์อะไร นึกอะไรได้ก็แปลตรงตัวไว้ก่อน 55
触る → 鬘触る อันนี้เพิ่งมาเห็นทีหลังว่าผิด จริงๆ รู้อยู่แล้วว่าสัมผัส(触る)อะไรต้องใช้ に แต่ทำไมพูด を ไปก็ไม่รู้ 55
鬘を引き出す จริงๆ ควรจะเป็น 鬘を取る เนื่องจากตอนแรกไม่รู้ว่าเอาวิกออกมาควรจะใช้คำว่าอะไร พอคิดถึงภาษาไทยที่อยากจะพูดว่าดึงออกมาก็เลยใช้เป็น 引き出す ไป
そう見た → それを見た หรือเปล่าหว่า? อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจ ตอนพูดคิดถึงคำว่า "เห็นอย่างนั้น" ก็เลยใช้ そう見た ไป จริงๆ ต้องเป็น それを見た มากกว่าสินะ???
元より → もっと อันนี้อาจารย์แก้ไขมาให้ 55 ที่พูด 元より ไปเพราะคิดว่าอยากจะพูดว่า "มากกว่าเดิม" น่ะขอรับ

ประเด็นที่สี่จุดสอง เรื่องการใช้คำศัพท์และคำช่วยของเรื่อง 飛行機 อันนี้ดูผิดน้อยกว่าอันบน
朝寝坊のせい คืออยากจะพูดว่าเป็นเพราะตื่นสาย แต่ในกรณีนี้ใช้ せい ไม่ได้หรือเปล่าหว่า? อันนี้ยังไม่แน่ใจ ไว้จะลองสืบค้นการใช้ せい กับ おかげ เพิ่มเติมทีหลังนะขอรับ
悲しく家に帰った → มันต้องเป็น 悲しく家に帰った สินะ ถ้าเป็นอย่างหลังคงจะแปลว่า "กลับบ้านไปอย่างเศร้าๆ" แต่ตอนแรกไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ เพราะคิดว่าจะพูดว่า "เศร้าแล้วก็กลับบ้านไป"
テレビニュース見た → テレビニュース見た พอกลับมา 反省 แล้วเพิ่งจะรู้ตัวว่าลืมพูดต่อท้ายว่า ~ことを見た 55555 ผิดขั้นร้ายแรง *มุดดินหนี*
はず飛行機 → ~はずだった飛行機 อันนี้อาจารย์ก็ช่วยแก้มาให้เหมือนกัน OTL

ประเด็นที่ห้า ในการเล่าเรื่องทั้งสองเรื่อง สิ่งที่พูดไปนั้นพบว่าเหมือนพูดกับตัวเองมากกว่าจะเล่าให้คนอื่นฟัง - -" พอได้อ่านสิ่งที่คนญี่ปุ่นเขียนแล้วรู้เลยว่าต่างกับราวฟ้ากับเหว (แน่นอนว่าของตัวเองเป็นเหว) สาเหตุหลักๆ คือ หนึ่ง ไม่ค่อยอธิบายรายละเอียดให้เห็นภาพเท่าไร สอง ไม่รู้ว่าเวลาจะเปิดประเด็นพูดอะไรสักเรื่องหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นควรจะพูดอย่างไรนั่นเอง... ในเรื่อง 飛行機 ก็เลยพูดว่า ねえ、知ってる?ไป ส่วนอันแรกไม่ได้พูดเปิดประเด็น
ส่วนของคนญี่ปุ่นเขาเปิดประเด็นด้วยคำว่า 「ねえ、ねえ、聞いてよ」、「あのう~けど」อะไรประมาณนั้น ไว้จะจำไปใช้นะขอรับ m(_ _)m

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 4 เรื่องของสองมือ

สวัสดีชาวโลก หลังจากดองมานานจนเกลือเริ่มเกาะแล้ววันนี้ก็ขอกลับมาทุบไหอัพบล็อกกันอีกครั้งนะขอรับ

เอนทรี่นี้ขอเปิดประเด็นนอกเรื่องจากที่เรียนก่อนก็แล้วกันไม่งั้นเดี๋ยวนานแล้วลืม

พอดีเพิ่งใช้คำนี้ลองเขียนในการบ้านไปไม่นาน คำว่า 手を組む นั่นเอง คำนี้เคยอ่านเจอในนิยาย ก็เลยอยากลองเอามาใช้ดู

手を組む เท่าที่สืบค้นมาดูเหมือนคอลโลเคชั่นนี้จะมีสองความหมาย คือ

1. ร่วมมือกัน 協力し合う
  → คิดว่า 協力する เฉยๆ น่าจะหมายถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ความร่วมมือกับอีกฝ่าย แต่ไม่ได้ร่วมกันทำหรือเปล่า เช่น เวลาที่ทำ アンケート ก็เขียนลงท้ายไว้ว่า ご協力ありがとうございました。

2. กอดอก 腕を組む หรือ 腕組みする
 → เห็นว่า 腕を組む มักจะใช้ในกรณีที่กำลังครุ่นคิดอะไรบางอย่างอยู่ เพราะคนชอบกอดอกเวลาคิด
ความหมายที่ใช้เขียนการบ้านไปคือความหมายแรก เพราะต้องการอธิบายว่าคนคนหนึ่งร่วมมือกับคนอีกคนหนึ่งในการทำอะไรสักอย่าง ที่เขียนไปก็ AはBと手を組んでいる。 อะไรประมาณนี้

อันที่จริงเนื่องจากที่เขียนไปยังไม่ได้รับการตรวจกลับมา ก็เลยไม่รู้ว่าถูกมั้ย ก็เลยไม่มีอะไรให้ 反省 ก็เลยจะขอโยงไปถึงคอลโลเคชั่นอื่นๆ ที่มีความหมายคล้ายๆ กันแทนก็แล้วกัน

เท่าที่ลองหาตัวอย่างมาแบบไม่เยอะเท่าไรก็ได้ประมาณนี้

คำว่า 組む มีความหมายว่า เอามาไว้ด้วยกัน ในขณะที่ 手を組む มักจะใช้ในความหมายอย่างที่พูดไปข้างต้น แต่แค่เติม 両 เพิ่มเป็น 両手を組む ก็จะกลายเป็นเอามือประสานกัน (เช่น ตอนอธิษฐานขอพร) เห็นว่ามักจะใช้ในกรณีที่กำลังใช้ความคิดอยู่ 両手を組んで考え込む。

指を組む = ประสานนิ้ว ดูจะคล้ายๆ 両手を組む แต่ต่างกันยังไงไม่แน่ใจแฮะ
手を合わせる = พนมมือ
手をつなぐ = จับมือ
 → ในภาษาไทยคำว่าจับมืออาจหมายถึงร่วมด้วยช่วยกัน (手を組む) ก็ได้
肩を組む = โอบไหล่
足を組む = ไขว่ห้าง(ถ้านั่งเก้าอี้), ขัดสมาธิ(ถ้านั่งพื้น)

สองคำหลังไม่ใช่มือ แต่บันทึกไว้เป็นคอลโลเคชั่นให้จำเพิ่มเติมเฉยๆ...

คอลโลเคชั่นญี่ปุ่นที่หมายถึงการเอาสองมือมาไว้เข้าด้วยกันนี่หลากหลายจริงๆ ใช้ผิดความหมายเพี้ยนเลยนะเนี่ย - -" สำหรับคนไทย (ตัวเองนี่แหละ) อาจจะรู้สึกว่า 組む、合わせる、つなぐ มันก็หมายถึงเอามารวมไว้ด้วยกัน เอามาติดกันเหมือนกันหมด ถ้าไม่ศึกษาให้ดีอาจจะใช้ผิดก็เป็นได้...


ความจริงตอนเขียนการบ้านนี่ได้คอลโลเคชั่นทดลองใช้ใหม่เยอะอยู่ แต่พอเขียนเสร็จก็ลืมแล้วอ้ะไม่ได้บันทึกไว้ OTL ถ้านึกคำอื่นๆ ที่น่าสนใจออกจะมาอัพเพิ่มใหม่ในเอนทรี่ต่อๆ ไปนะขอรับ