วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 21 จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า

ช่วงนี้ชอบฟังเพลงนึงซึ่งมีท่อนที่ร้องเกี่ยวกับดวงจันทร์ ดวงจันทร์ในเพลงนั้นร้องว่า 欠けた月 ด้วยความสนอกสนใจเกี่ยวกับดวงดาว ก็สงสัยว่ามีวิธีเรียกดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ ว่าอย่างไรบ้าง จึงได้ไปสืบค้นมาได้ความดังนี้

欠けた月 หากแปลตรงๆ คงเป็นจันทร์แหว่ง - -" แปลให้สวยๆ กว่านั้นก็คือ จันทร์ข้างแรม นั่นเองขอรับ

เห็นว่ามี 月が欠ける ด้วย อันนี้ก็ไม่ได้แปลว่าจันทร์ขาด แต่เป็นดวงจันทร์หลังจากจันทร์เต็มดวง หรือจันทร์เสี้ยว ตรงกันข้ามกับ 月が満ちる ซึ่งก็แปลว่าจันทร์เต็มดวง

ส่วนคำว่าข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ ก็คือ 月の満ち欠け ขอรับ เป็นคำที่ใช้กับดวงจันทร์โดยเฉพาะเลย เหมือนกับคำว่า 潮の満ち引き ที่แปลว่ากระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งเคยพูดถึงไปแล้วในเอนทรี่แปลเพลง

ศัพท์ของคำว่า จันทรุปราคา ก็คือ 月食 และสุริยุปราคา ก็คือ 日食 ทั้งสองคำนี้ใช้คันจิที่แปลว่ากิน คล้ายๆ กับในภาษาไทยที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าราหูอมจันทร์อะไรแบบนั้นเลย

สำหรับชื่อเรียกดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ คิดว่าดูเป็นภาพจะทำให้เข้าใจง่ายกว่าขอรับ


คำอ่านขอรับ

上弦の月(じょうげん) หรือ 弓張月(ゆみはりづき) เห็นว่าที่เรียกแบบหลังนี้เพราะลักษณะดวงจันทร์เหมือนกับลักษณะของธนูที่ถูกง้างอยู่ขอรับ

三日月(みかづき)

新月(しんげつ)หรือ 朔日(ついたち)

下弦の月(かげんのつき)หรือ 弓張月(ゆみはりづき)

満月(まんげつ)หรือ 望月(ぼうげつ)หรือ 十五夜月(じゅうごやづき)

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บนี้ อธิบายเกี่ยวกับศัพท์ลักษณะดวงจันทร์เอาไว้อย่างละเอียดมาก มากกว่าที่เห็นในภาพนี้เยอะ หากใครสนใจสามารถเข้าไปอ่านเป็นความรู้เพิ่มเติมได้นะขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น