- 1. 師 = เป็นคำที่ใช้แพร่หลายที่สุด มีความหมายว่า 先生 ในแบบที่โบราณและดูเป็นทางการเล็กน้อย ให้ความรู้สึกเคารพนับถือ
- 2. 師匠(ししょう)・師範(しはん) = มักจะใช้ในกรณีที่หมายถึงอาจารย์สอนศิลปะการแสดง (หมายถึงศาสตร์ดั้งเดิมของญี่ปุ่นด้วยก็ได้)
- 3. 師範(しはん) = อาจหมายถึงคนที่เป็นแบบอย่าง มีคุณสมบัติ ใบรับรอง (ถ้าเข้าใจไม่ผิด)
เรื่องของเรื่องที่เอาคำนี้มาพูดถึงเพราะสองคำแรก (師・師匠) เคยได้ยินมาจากในการ์ตูนนั่นเองขอรับ ฮ่าๆ รู้สึกว่าตัวเองคุ้นกับคำเรียกอาจารย์มากกว่า แต่พอลองกลับไปฟังดีๆ อีกที ก็ได้ยินคำว่า 弟子 เหมือนกันแฮะ แค่ตอนแรกไม่ได้สังเกต...
ปกติที่เราเรียนกันในโรงเรียน แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องรู้จัก 先生 แน่ๆ แต่คำนี้ในภาษาญี่ปุ่นใช้ได้กว้างสุดๆ หมายถึงทั้งครูบาอาจารย์ตามโรงเรียนหรืออื่นๆ หมายถึงแพทย์ หรือแม้แต่นักเขียนก็ยังเรียกด้วยคำนี้ คิดเอาเองแบบไม่ได้ค้นจากไหนว่าคงจะหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญศาสตร์ต่างๆ สินะขอรับ
ส่วนครูอาจารย์ที่สอนหนังสือก็ใช้คำเรียกว่า 教師 อยู่แล้ว อันนี้ก็คงรู้ๆ กัน ส่วนคำตรงข้ามก็คงจะเป็น 生徒 ล่ะมั้ง...
เข้าเรื่องเถอะ... ความจริงแล้วเอนทรี่จะมา 反省 จดหมายขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์นักกีต้าร์ชื่อดังนั่นเองขอรับ เมื่อกี้นอกเรื่องไปซะยาว
สำหรับสิ่งที่ 書き直し ไปนั้น...
はじめまして、~と申します。突然メールを差し上げる失礼をお許しください。
先生のホームパージを見て、先生の個人レッスンをぜひ受けたいと思いました。レッスンを受けていただけるかどうか、お尋ねしたいと思います。
私の趣味はフラメンコギターで、5年ほど毎週1時間フラメンコギターのレッスンを受けてきました。ずっと~先生を尊敬しています。将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいと思っています。~先生の個人レッスンを受けられれば、その夢にあと一歩のところまで迫れると思います。
ただ、私は大学生で月曜から金曜まで授業がありますので、土曜・日曜しかレッスンに通えません。
お手数ですが、レッスンを受けさせていただけるかどうか、お知らせいただけませんでしょうか。日時を指定していただければ、先生のところにご相談に伺わせていただきます。
どうぞよろしくお願いいたします。
ที่ทำสีเหลืองอ่อนไว้ ขอสารภาพว่าส่วนนี้ก็อปตัวอย่างมาหมด ส่วนสีเหลืองเข้มขึ้นมาอีกนิดนี่ก็ดูตัวอย่างมาแต่เปลี่ยนคำเล็กน้อย อย่าใส่ใจเลยขอรับ 555 คิดว่าถ้าต้องเขียนจดหมายฝากตัวจริงๆ ก็คงจะก็อปเอาแพทเทิร์นแบบนี้ไปเขียนเหมือนกัน... เพราะฉะนั้นสนใจสีน้ำเงินที่ไม่ได้ก็อปมาทั้งดุ้นดีกว่า ส่วนสีแดงคือส่วนที่อาจารย์คอมเม้นต์มาให้ขอรับ
ขอพูดส่วนที่อาจารย์คอมเม้นต์มาก่อนก็แล้วกัน
จุดแรก 5年ほど~てきました อันนี้อาจารย์บอกว่าควรจะมี 前から ต่อท้าย เพราะข้างหลังใช้กริยาที่แสดงการกระทำต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โอ้ววว ความรู้ใหม่ ขอบพระคุณมากขอรับ m(_ _)m
จุดที่สอง 迫れる อาจารย์บอกว่าคำนี้แรงไป น่าจะเปลี่ยนไปใช้ 近づくことができる จะดีกว่า อันนี้ก็เพิ่งรู้เช่นกันว่าการใช้กริยาบ่งบอกความสามารถโดยตรง (บวกกับใช้คำว่า 迫る) มันฟังดูแรงเกินไป พอดีอ่านนิยายเจอคำว่า あと一歩のところまで迫る ก็เลยลองเอามาใช้ดูน่ะขอรับ (ความจริงนนิยายหมายถึงเข้าใกล้อย่างอื่นไม่ใช่ความฝัน)
ต่อมาจะเป็นการ 反省 ตัวเองนะขอรับ
ประเด็นแรก ในกรณีที่เขียนจดหมายถึงคนที่ไม่รู้จักเป็นครั้งแรก ควรลงท้ายชื่อ 様 ดีกว่า さん แต่ถ้าอีกฝ่ายเป็นอาจารย์ ใช้ 先生 จะดีที่สุด ตอนแรกตัวเองเขียนว่า ~さん ไป เพิ่งจะมาเข้าใจความแตกต่างก็ตอนนี้เอง...
ประเด็นที่สอง คือการลอกข้อความในคำสั่งมาใส่ในสิ่งที่เขียน เพราะคิดไม่ออกว่าควรจะเขียนอะไรนั่นเอง 555 ที่จริงข้างบนที่ 書き直し ไปแล้วก็ยังมีส่วนที่เอามาจากในคำสั่งอยู่ (เช่น 将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいと思っています。) แต่อันนี้ดูเหมือนจะไม่ผิดอะไร เพราะงั้นมาพูดถึงส่วนที่ไม่ควรแค่ลอกมาจากคำสั่งดีกว่าขอรับ คำแรกก็คือ
詳しいことを問い合わせ อันนี้ได้รับคอมเม้นต์ในห้องพร้อมกับที่ได้ชีทตัวอย่างว่าเป็นคำถามที่กว้างเกินไป จะไปขอฝากตัวเป็นศิษย์เขาไม่ควรจะรบกวนให้เขามาอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างให้ฟังใหม่ทั้งหมด แต่ควรจะเจาะประเด็นไปเลยว่าอยากรู้อะไร เขาจะได้ตอบได้ถูกประเด็น
ประเด็นที่สาม เพื่อนคอมเม้นต์มาในประโยคที่ว่า フラメンコギターを弾き始めてから~さんがずっと私のアイドルです。 ว่าประโยคนี้ตอนแรกประธานเป็นตัวเอง แต่ประโยคที่สองประธานกลับเป็นคนอื่น มันเลยแปลกๆ ตอนเขียนไม่ได้คิด แต่พอเพื่อนคอมเม้นต์มาแบบนี้แล้วก็เพิ่งมาคิดว่าจริงด้วยแฮะ สรุปแล้วถ้าประโยคแรกจะบอกว่า フラメンコギターを弾き始めてから ประโยคหลังก็ควรจะเปลี่ยนเป็นตัวเองยึดเอาอีกฝ่ายเป็นไอด้อลแทน คือเปลี่ยนให้ประธานยังคงเป็นตัวเองเหมือนในประโยคแรก ว่าแต่ว่าถ้าจะบอกว่ายึดเอาอีกฝ่ายเป็นอะไรสำหรับตัวเองนี่จะพูดยังไงหว่า? ずっと~さんを私のアイドルとして尊敬している จะได้ไหมหว่า? ประโยคที่ว่านี้ยังไม่มีใครตรวจให้ ก็เลยยังไม่แน่ใจว่าจะเขียนแบบนี้ถูกหรือเปล่านะขอรับ
ประเด็นที่สี่ ระดับภาษาที่ต่างกันในประโยคความรวม/ซ้อน คือจบประโยคแรกด้วยรูปธรรมดา แล้วจบประโยคสุดท้ายด้วยรูปสุภาพ เช่น ~なったので、~します。 ในตอนแรกเขียนไปแบบนั้นแหละขอรับ แต่เพื่อนก็แก้มาให้เป็น ~なりましたので แทน อันนี้ก็เข้าใจว่าเนื่องจากเป็นการเขียนถึงคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน และอีกฝ่ายเป็นคนที่สูงกว่า คนที่เราต้องการไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยก็ต้องใช้คำสุภาพให้หมดทั้งประโยค แต่เนื่องจากตอนม. ปลายเรียนมาว่ากลางประโยคให้ผันเป็นรูปธรรมดาแล้วลงท้ายค่อยใช้รูปสุภาพ ก็เลยติดการใช้แบบนั้นมาจนถึงตอนนี้ - -" ต่อไปจะพยายามระวังเรื่องนี้ให้มากขึ้นขอรับ
ที่จริงยังมีเรื่องอื่นๆ ที่เป็นความรู้ใหม่จากในห้องเยอะแยะเลย เช่น วิธีการเขียนเริ่มต้นจดหมายเมื่อเขียนถึงคนที่ไม่รู้จักเป็นครั้งแรก ที่ไม่ได้เขียนไว้ในการเขียนครั้งแรก การใช้ へ・より ประโยคปิดท้ายจดหมาย การใช้ 拝啓・敬具 ฯลฯ แต่มันเยอะมากจึงขอละไว้ เอนทรี่นี้เขียนแค่ 反省 ตัวเองในจุดที่เขียนผิดก็แล้วกันนะขอรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น