วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 22 กรรม

ช่วงเร็วๆ นี้ได้อ่านนิยายเจอคำว่า "แบกรับกรรม" และ "เวรกรรมตามสนอง" หลังจากนั้นก็เจอคำว่า "กรรมตามสนอง" เดียวกันนั้นในชีทที่เรียนวิชา Hist JP Lit II -0-

คำว่าเวรกรรมตามสนองคือ 因果応報(いんがおうほう*)ขอรับ ในนิยายที่เจอพูดว่า 「これも因果応報ってやつかね」 คิดว่าน่าจะแปลว่า "นี่ก็คงจะเป็นคนที่กรรมตามสนองอีกสินะ"
*แก้ไขคำอ่านที่ตอนแรกพิมพ์ผิดตามที่อาจารย์คอมเม้นต์บอก

เนื่องจากหาวิธีใช้ไม่ค่อยเจอ เจอแบบ 因果応報ってやつ เหมือนกับในนิยาย ส่วนวิธีใช้อื่นๆ นอกจากเอาไปอธิบายอะไรบางอย่างแล้วไม่ค่อยจะเจอเท่าไร

ส่วนคำว่า "แบกรับกรรม" ที่เจอมาในนิยายเล่มเดียวกันนั้นก็คือ 業を背負う ขอรับ คำว่า 業 นั้นหมายถึง กรรมหรือผลของการกระทำในศาสนาพุทธ หรือการกระทำที่เคยทำไว้เมื่อชาติปางก่อน พบตัวอย่างหนึ่งของการใช้คำนี้ในนินแจลว่า 世界中の人々の命の灯火を消すという、業を背負う覚悟を決めた彼女の言葉。 (คำพูดของเธอที่เตรียมใจแบกรับผลของการกระทำ ที่ได้ดับไฟชีวิตของผู้คนในโลก)
→ ที่เลือกตัวอย่างนี้มาเพราะมีคอลโลเคชั่นที่น่าสนใจอีกคำหนึ่งคือ 覚悟を決める (เตรียมใจ) นั่นเองขอรับ คำว่าเตรียมใจนี้จะใช้คำว่า 覚悟をする ก็ได้ ส่วนเตรียมใจทำเรื่องอะไรนั้นก็ใช้เป็น (สิ่งที่เตรียมใจรับ)覚悟をする เช่นตัวอย่างเตรียมใจแบกรับกรรมข้างบน หรือ 死ぬ覚悟をする (เตรียมใจตาย) เป็นต้น

ส่วน 因果 นี่นอกจากจะหมายถึง กรรม แล้วยังหมายถึง โชคชะตา หรือเหตุและผลที่ตามมาด้วย ลองค้นดูแล้วไม่มีคำว่า 因果を背負う เพราะฉะนั้นคงจะใช้คำนี้ไม่ได้ขอรับ

นอกจาก 業を背負う แล้ว ยังใช้คำว่า 業を持つ ได้ด้วย เจอตัวอย่างในนินแจลว่า 人間は業を持って生まれてくると聞きました (ได้ยินมาว่ามนุษย์นั้นเกิดมาโดยมีกรรมติดตัว)

สำหรับการใช้คำว่า "กรรมหรือผลของการกระทำ" ก็เป็นดังพรรณนามาด้วยประการละฉะนี้แล...