วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 7 แล้วมันจะผ่านพ้นไป

ช่วงหลายปีมานี้บ้านเมืองเกิดเหตุการณ์ไม่ค่อยสงบบ่อยจริงๆ ปีนี้ก็เป็นอีกปีหนึ่งที่เป็นอย่างนั้น นอกจากนั้นก็ยังเป็นปีที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง เพื่อนสนิทหลายคนก็จะเดินทางไปแลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่นเป็นเวลาหนึ่งปี กลับมาก็ไม่ได้เรียนด้วยกันแล้ว แล้วปีนี้ก็เปลี่ยนช่วงเวลาเปิดเทอมใหม่ตามอาเซียนด้วย

เกริ่นมาดูเหมือนจะพูดเรื่องอะไรซีเรียส ความจริงก็แค่ก่อนหน้านี้เคยใช้คำที่แสดงความหมายว่าผ่านพ้นความยากลำบากไปได้เขียนในการบ้าน ก็เลยคิดถึงคำที่ว่านั้นขึ้นมา แล้วก็คิดว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนี้จะใช้คำนั้นได้หรือเปล่านะ?

คำที่ว่าก็คือ 乗り越える นั่นเอง แล้วก็มีอีกคำที่คล้ายๆ กัน 乗り切る ว่าแต่สองคำนี้ต่างกันยังไงล่ะ? วันนี้ก็เลยลองศึกษาวิธีการใช้ดู

ตอนที่เขียนการบ้าน เขียนเรื่องเดียวกันแท้ๆ แต่เจอสองคำนี้เลยลองใช้ไปทั้งสองคำเลย ถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ 555

ก่อนอื่นมาดู 乗り越える

อ้างอิงจาก http://dictionary.goo.ne.jp/leaf/jn2/172562/m0u/ ได้ความหมายมาสามอย่าง คือ

1. ผ่านขึ้นไปบนสิ่งสิ่งหนึ่งแล้วไปยังอีกฟากฝั่ง

2. ข้ามผ่านระดับที่เคยมีคนทำเอาไว้ก่อนแล้ว เช่น ทำผลงานออกมาได้ดีกว่าที่พ่อแม่เคยทำเอาไว้ 両親を乗り越えた (<< อันนี้แต่งเอง อย่าเพิ่งเชื่อ)

3. ผ่านพ้นความยากลำบากแล้วก้าวต่อไปข้างหน้าได้

ตัวอย่างการใช้ 乗り越える ที่สืบค้นมาจาก http://nlb.ninjal.ac.jp/ ก็มีเยอะอยู่ แต่จะขอเจาะความหมายในข้อที่ 3 อย่างเดียวนะขอรับ เช่น

- 危機を乗り越える ผ่านพ้นวิกฤตการณ์
- 困難を乗り越える ผ่านพ้นความยากลำบาก
- 障害を乗り越える ผ่านพ้นอุปสรรค
- 苦難を乗り越える ผ่านพ้นความทุกข์ทรมาน
- 悲しみを乗り越える ผ่านพ้นความเศร้าเสียใจ

ดูแล้วเหมือนจะให้ความหมายว่าเมื่อผ่านพ้นสิ่งต่างๆ เหล่านั้นไปได้ชีวิตก็น่าจะดีขึ้นมาอีกนิด

ต่อมาก็ 乗り切る

คำว่า 乗り切る นั้น อ้างอิงจาก http://dictionary.goo.ne.jp/leaf/jn2/172550/m0u/ ก็ได้ความหมายมาสามอย่างเช่นกัน คือ

1. นั่ง(พาหนะ)ไปจนถึงอีกฟากฝั่ง

2. ผ่านพ้นความยากลำบาก วิกฤตการณ์ (อันนี้เหมือน 乗り越える แฮะ)

3. นั่งไปจนสุดทาง

ตัวอย่างการใช้ที่สืบค้นมาจากเว็บเดียวกับข้างบน เจาะความหมายข้อ 2 ที่คล้ายกับข้างบน ก็เช่น

- 危機を乗り切る ผ่านพ้นวิกฤตการณ์
- 困難を乗り切る ผ่านพ้นความยากลำบาก
- 苦境を乗り切る ผ่านพ้นปัญหา
- 状況を乗り切る ผ่านพ้นสถานการณ์
- 今日を乗り切る ผ่านพ้นวันนี้
- 冬を乗り切る ผ่านพ้นฤดูหนาว

จะเห็นได้ว่าคำนี้มีใช้กับช่วงเวลาด้วย

ลองสังเกตตัวอย่างคำนามที่ใช้คู่กับกริยาทั้งสองคำนี้ ก็คิดว่า 乗り越える ที่มี 越える (ก้าวข้าม) ความหมายออกแนวก้าวข้ามผ่านอะไรสักอย่างไป ส่วน 乗り切る ที่มี 切る ที่เมื่ออยู่ต่อท้ายคำกริยาอื่นจะให้ความหมายว่าทำอะไรสักอย่างจนลุล่วง ก็เข้าใจว่าคำนี้หมายความว่า เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ หรือช่วงเวลาหนึ่งไปจนกว่ามันจะสิ้นสุดลง และเมื่อสิ้นสุดลงก็จะเท่ากับว่าผ่านพ้นมันไปแล้ว คล้ายๆ กับ 乗り越える นั่นเอง กริยาทั้งสองคำนี้จึงสามารถใช้กับคำนามเหมือนกันได้บางคำตามที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น อันนี้คือสิ่งที่ตัวเองเข้าใจนะขอรับ

ถ้ามันใช้กับ 困難 ได้ทั้งคู่ก็แสดงว่าที่เคยใช้ทั้งสองคำเขียนการบ้านไปไม่น่าจะผิดหรือเปล่า? ฮะๆๆ

ภาษาญี่ปุ่นช่างเป็นภาษาที่ละเอียดซับซ้อนจริงๆ...

さあ、皆さん、大学3年生の2学期を一緒に乗り越えましょう!

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 6 先生の弟子になりたい!

เอนทรี่นี้มาด้วยหัวข้ออยากฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ซึ่งใช้คำถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ พอดีไปค้นมาแล้วพบว่า 弟子 เป็นคำตรงข้ามของ 師・師匠 และจากการสืบค้นกูเกิ้ลมาอีกที ได้ความหมายและวิธีการใช้คำว่า 師 อ้างอิงจาก http://dictionary.goo.ne.jp/leaf/thsrs/9745/m0u/ ได้ความดังนี้

  • 1. 師 = เป็นคำที่ใช้แพร่หลายที่สุด มีความหมายว่า 先生 ในแบบที่โบราณและดูเป็นทางการเล็กน้อย ให้ความรู้สึกเคารพนับถือ
  • 2. 師匠(ししょう)・師範(しはん) = มักจะใช้ในกรณีที่หมายถึงอาจารย์สอนศิลปะการแสดง (หมายถึงศาสตร์ดั้งเดิมของญี่ปุ่นด้วยก็ได้)
  • 3. 師範(しはん) = อาจหมายถึงคนที่เป็นแบบอย่าง มีคุณสมบัติ ใบรับรอง (ถ้าเข้าใจไม่ผิด)

เรื่องของเรื่องที่เอาคำนี้มาพูดถึงเพราะสองคำแรก (師・師匠) เคยได้ยินมาจากในการ์ตูนนั่นเองขอรับ ฮ่าๆ รู้สึกว่าตัวเองคุ้นกับคำเรียกอาจารย์มากกว่า แต่พอลองกลับไปฟังดีๆ อีกที ก็ได้ยินคำว่า 弟子 เหมือนกันแฮะ แค่ตอนแรกไม่ได้สังเกต...

ปกติที่เราเรียนกันในโรงเรียน แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องรู้จัก 先生 แน่ๆ แต่คำนี้ในภาษาญี่ปุ่นใช้ได้กว้างสุดๆ หมายถึงทั้งครูบาอาจารย์ตามโรงเรียนหรืออื่นๆ หมายถึงแพทย์ หรือแม้แต่นักเขียนก็ยังเรียกด้วยคำนี้ คิดเอาเองแบบไม่ได้ค้นจากไหนว่าคงจะหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญศาสตร์ต่างๆ สินะขอรับ

ส่วนครูอาจารย์ที่สอนหนังสือก็ใช้คำเรียกว่า 教師 อยู่แล้ว อันนี้ก็คงรู้ๆ กัน ส่วนคำตรงข้ามก็คงจะเป็น 生徒 ล่ะมั้ง...

เข้าเรื่องเถอะ... ความจริงแล้วเอนทรี่จะมา 反省 จดหมายขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์นักกีต้าร์ชื่อดังนั่นเองขอรับ เมื่อกี้นอกเรื่องไปซะยาว

สำหรับสิ่งที่ 書き直し ไปนั้น...

はじめまして、~と申します。突然メールを差し上げる失礼をお許しください。

 先生のホームパージを見て、先生の個人レッスンをぜひ受けたいと思いました。レッスンを受けていただけるかどうか、お尋ねしたいと思います。

 私の趣味はフラメンコギターで、5年ほど毎週1時間フラメンコギターのレッスンを受けてきました。ずっと~先生を尊敬しています。将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいと思っています。先生の個人レッスンを受けられれば、その夢にあと一歩のところまで迫れると思います。

 ただ、私は大学生で月曜から金曜まで授業がありますので、土曜・日曜しかレッスンに通えません。

 お手数ですが、レッスンを受けさせていただけるかどうか、お知らせいただけませんでしょうか。日時を指定していただければ、先生のところにご相談に伺わせていただきます。

 どうぞよろしくお願いいたします。

ที่ทำสีเหลืองอ่อนไว้ ขอสารภาพว่าส่วนนี้ก็อปตัวอย่างมาหมด ส่วนสีเหลืองเข้มขึ้นมาอีกนิดนี่ก็ดูตัวอย่างมาแต่เปลี่ยนคำเล็กน้อย อย่าใส่ใจเลยขอรับ 555 คิดว่าถ้าต้องเขียนจดหมายฝากตัวจริงๆ ก็คงจะก็อปเอาแพทเทิร์นแบบนี้ไปเขียนเหมือนกัน... เพราะฉะนั้นสนใจสีน้ำเงินที่ไม่ได้ก็อปมาทั้งดุ้นดีกว่า ส่วนสีแดงคือส่วนที่อาจารย์คอมเม้นต์มาให้ขอรับ

ขอพูดส่วนที่อาจารย์คอมเม้นต์มาก่อนก็แล้วกัน
จุดแรก 5年ほど~てきました อันนี้อาจารย์บอกว่าควรจะมี 前から ต่อท้าย เพราะข้างหลังใช้กริยาที่แสดงการกระทำต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โอ้ววว ความรู้ใหม่ ขอบพระคุณมากขอรับ m(_ _)m
จุดที่สอง 迫れる อาจารย์บอกว่าคำนี้แรงไป น่าจะเปลี่ยนไปใช้ 近づくことができる จะดีกว่า อันนี้ก็เพิ่งรู้เช่นกันว่าการใช้กริยาบ่งบอกความสามารถโดยตรง (บวกกับใช้คำว่า 迫る) มันฟังดูแรงเกินไป พอดีอ่านนิยายเจอคำว่า あと一歩のところまで迫る ก็เลยลองเอามาใช้ดูน่ะขอรับ (ความจริงนนิยายหมายถึงเข้าใกล้อย่างอื่นไม่ใช่ความฝัน)

ต่อมาจะเป็นการ 反省 ตัวเองนะขอรับ

ประเด็นแรก ในกรณีที่เขียนจดหมายถึงคนที่ไม่รู้จักเป็นครั้งแรก ควรลงท้ายชื่อ 様 ดีกว่า さん แต่ถ้าอีกฝ่ายเป็นอาจารย์ ใช้ 先生 จะดีที่สุด ตอนแรกตัวเองเขียนว่า ~さん ไป เพิ่งจะมาเข้าใจความแตกต่างก็ตอนนี้เอง...

ประเด็นที่สอง คือการลอกข้อความในคำสั่งมาใส่ในสิ่งที่เขียน เพราะคิดไม่ออกว่าควรจะเขียนอะไรนั่นเอง 555 ที่จริงข้างบนที่ 書き直し ไปแล้วก็ยังมีส่วนที่เอามาจากในคำสั่งอยู่ (เช่น 将来はフラメンコ舞踊の伴奏家として仕事をしたいと思っています。) แต่อันนี้ดูเหมือนจะไม่ผิดอะไร เพราะงั้นมาพูดถึงส่วนที่ไม่ควรแค่ลอกมาจากคำสั่งดีกว่าขอรับ คำแรกก็คือ
詳しいことを問い合わせ อันนี้ได้รับคอมเม้นต์ในห้องพร้อมกับที่ได้ชีทตัวอย่างว่าเป็นคำถามที่กว้างเกินไป จะไปขอฝากตัวเป็นศิษย์เขาไม่ควรจะรบกวนให้เขามาอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างให้ฟังใหม่ทั้งหมด แต่ควรจะเจาะประเด็นไปเลยว่าอยากรู้อะไร เขาจะได้ตอบได้ถูกประเด็น

ประเด็นที่สาม เพื่อนคอมเม้นต์มาในประโยคที่ว่า フラメンコギターを弾き始めてから~さんがずっと私のアイドルです。 ว่าประโยคนี้ตอนแรกประธานเป็นตัวเอง แต่ประโยคที่สองประธานกลับเป็นคนอื่น มันเลยแปลกๆ ตอนเขียนไม่ได้คิด แต่พอเพื่อนคอมเม้นต์มาแบบนี้แล้วก็เพิ่งมาคิดว่าจริงด้วยแฮะ สรุปแล้วถ้าประโยคแรกจะบอกว่า フラメンコギターを弾き始めてから ประโยคหลังก็ควรจะเปลี่ยนเป็นตัวเองยึดเอาอีกฝ่ายเป็นไอด้อลแทน คือเปลี่ยนให้ประธานยังคงเป็นตัวเองเหมือนในประโยคแรก ว่าแต่ว่าถ้าจะบอกว่ายึดเอาอีกฝ่ายเป็นอะไรสำหรับตัวเองนี่จะพูดยังไงหว่า? ずっと~さんを私のアイドルとして尊敬している จะได้ไหมหว่า? ประโยคที่ว่านี้ยังไม่มีใครตรวจให้ ก็เลยยังไม่แน่ใจว่าจะเขียนแบบนี้ถูกหรือเปล่านะขอรับ

ประเด็นที่สี่ ระดับภาษาที่ต่างกันในประโยคความรวม/ซ้อน คือจบประโยคแรกด้วยรูปธรรมดา แล้วจบประโยคสุดท้ายด้วยรูปสุภาพ เช่น ~なったので、~します。 ในตอนแรกเขียนไปแบบนั้นแหละขอรับ แต่เพื่อนก็แก้มาให้เป็น ~なりましたので แทน อันนี้ก็เข้าใจว่าเนื่องจากเป็นการเขียนถึงคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน และอีกฝ่ายเป็นคนที่สูงกว่า คนที่เราต้องการไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยก็ต้องใช้คำสุภาพให้หมดทั้งประโยค แต่เนื่องจากตอนม. ปลายเรียนมาว่ากลางประโยคให้ผันเป็นรูปธรรมดาแล้วลงท้ายค่อยใช้รูปสุภาพ ก็เลยติดการใช้แบบนั้นมาจนถึงตอนนี้ - -" ต่อไปจะพยายามระวังเรื่องนี้ให้มากขึ้นขอรับ

ที่จริงยังมีเรื่องอื่นๆ ที่เป็นความรู้ใหม่จากในห้องเยอะแยะเลย เช่น วิธีการเขียนเริ่มต้นจดหมายเมื่อเขียนถึงคนที่ไม่รู้จักเป็นครั้งแรก ที่ไม่ได้เขียนไว้ในการเขียนครั้งแรก การใช้ へ・より ประโยคปิดท้ายจดหมาย การใช้ 拝啓・敬具 ฯลฯ แต่มันเยอะมากจึงขอละไว้ เอนทรี่นี้เขียนแค่ 反省 ตัวเองในจุดที่เขียนผิดก็แล้วกันนะขอรับ

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 5 面白く語る

ใช้ชื่อบทความว่าเล่าเรื่องให้สนุกก็จริง แต่ตอนเล่าจริงมันไม่ได้ฟังแล้วสนุกหรอก มีแต่ฟังแล้วขำเพราะพูดผิดๆ ถูกๆ ไม่ก็พูดอะไรแปลกๆ มากกว่า (ฮา)

สรุปแล้วเอนทรี่นี้คือการ 反省 การเล่าเรื่องจากภาพที่เป็น Task ของปีที่แล้วแต่เพิ่งมาอัพบล็อกเอาตอนนี้ เรื่อง それは秘密です กับ 過去のことを語る นั่นเอง

ไม่ค่อยอยากเอาที่พูดไว้มาลงเลย อับอาย 555 แต่เนื่องจากไม่ได้เขียนแก้ใหม่ ถ้าไม่เอาอันเก่ามาลงก็ไม่รู้จะทำให้เห็นสิ่งที่ผิดอย่างชัดๆ ยังไง เอาเถอะ ลงก็ลง

それは秘密です

私はね、整形美人ですもの。そのおかげで、優しくて素敵な彼氏ができたんですが、ある日、気の緩みから彼に過去の写真を見られちゃって、私はとてもびっくりしましたよ。でも、彼は気にしなくて良いって言ってくれたんなぜなら、その時、彼は自分の髪を触って、そして、頭からかつらを引き出しんだ。彼は実ははげ頭だったの。そう見た私は元よりびっくりした


過去のことを語る

ねえ、知ってる?私はね、先週、日本に行くことにしましたよ。でもね、もう切符を買ってきたのに、出発日に朝寝坊のせいで、空港に着いた時、日本に行く飛行機はもう出発したん。私はとても悲しく家に帰った。それから、テレビを見て、その後1時間ぐらい、テレビニュース私が乗るはず飛行機は落ちてしまったん。その飛行機に乗らなくてよかったと思った

ตัวฟ้าคือระดับภาษาที่ใช้ผิด ตัวแดงคือสิ่งที่อาจารย์ขีดเส้นใต้มาให้

ต่อจากนี้จะเป็นการ 反省 ตัวเองในสิ่งที่ผิดและเห็นได้ชัดนะขอรับ

ประเด็นแรก เห็นได้ชัดสุดๆ เป็นความผิดของทั้งสองการเล่า นั่นก็คือการใช้ระดับภาษาที่ต่างกัน เช่น ประโยคหนึ่งเป็น だ ประโยคต่อมาเป็น です เป็นความผิดโดยที่รู้ตัวว่าผิด แต่ให้พูดกี่ทีก็ยังผิดอยู่นั่นเอง OTL แบบว่าปกติที่เคยเรียนมาตอนแรกๆ น่ะจะเรียนแบบ です มาตลอด แล้วพอต้องมาใช้รูป だ มันก็เลยไม่ชิน อีกอย่าง เวลาพูดกับเพื่อนตอนที่อาจารย์สั่งให้ role play หรืออะไรแบบนั้น บางทีก็ไม่รู้ว่าควรจะใช้ だ หรือ です ดี เวลาพูดจริงมันเลยออกไปปะปนทั้งสองแบบอย่างน่าเกลียดจริงๆ 55

ประเด็นที่สอง  เริ่มจาก 秘密 ก็แล้วกัน ประโยคแรกที่พูดไปเลย ですもの ความจริงมันควรจะใช้อธิบายว่าอะไรเป็นอะไรทีหลังสินะ คือตอนแรกอยากจะอธิบายว่าไปศัลยกรรมมาไงก็เลยลองใช้คำนี้ รู้สึกเหมือนได้ยินบ่อยแต่ไม่เคยใช้เองเลยอยากพูดขึ้นมา 555

ประเด็นที่สาม ของเรื่อง 秘密 ที่ใช้ なぜなら แต่ลงท้ายด้วย ~んだ ตอนพูดลืมไปว่ามันต้องใช้ からだ ลงท้ายต่างหาก - -" คือคิดว่า のだ มันใช้อธิบายเหตุผลได้เหมือนกันเลยพูดเป็น のだ ไปแทน ลืมคิดถึงเรื่องที่ว่าตอนแรกใช้ なぜなら ขึ้นต้น

ประเด็นที่สี่จุดหนึ่ง เรื่องการใช้คำศัพท์และคำช่วยของเรื่อง 秘密 ผิดเยอะมากขอรับ เนื่องจากบางคำคิดไม่ออกว่าควรจะใช้คำศัพท์อะไร นึกอะไรได้ก็แปลตรงตัวไว้ก่อน 55
触る → 鬘触る อันนี้เพิ่งมาเห็นทีหลังว่าผิด จริงๆ รู้อยู่แล้วว่าสัมผัส(触る)อะไรต้องใช้ に แต่ทำไมพูด を ไปก็ไม่รู้ 55
鬘を引き出す จริงๆ ควรจะเป็น 鬘を取る เนื่องจากตอนแรกไม่รู้ว่าเอาวิกออกมาควรจะใช้คำว่าอะไร พอคิดถึงภาษาไทยที่อยากจะพูดว่าดึงออกมาก็เลยใช้เป็น 引き出す ไป
そう見た → それを見た หรือเปล่าหว่า? อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจ ตอนพูดคิดถึงคำว่า "เห็นอย่างนั้น" ก็เลยใช้ そう見た ไป จริงๆ ต้องเป็น それを見た มากกว่าสินะ???
元より → もっと อันนี้อาจารย์แก้ไขมาให้ 55 ที่พูด 元より ไปเพราะคิดว่าอยากจะพูดว่า "มากกว่าเดิม" น่ะขอรับ

ประเด็นที่สี่จุดสอง เรื่องการใช้คำศัพท์และคำช่วยของเรื่อง 飛行機 อันนี้ดูผิดน้อยกว่าอันบน
朝寝坊のせい คืออยากจะพูดว่าเป็นเพราะตื่นสาย แต่ในกรณีนี้ใช้ せい ไม่ได้หรือเปล่าหว่า? อันนี้ยังไม่แน่ใจ ไว้จะลองสืบค้นการใช้ せい กับ おかげ เพิ่มเติมทีหลังนะขอรับ
悲しく家に帰った → มันต้องเป็น 悲しく家に帰った สินะ ถ้าเป็นอย่างหลังคงจะแปลว่า "กลับบ้านไปอย่างเศร้าๆ" แต่ตอนแรกไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ เพราะคิดว่าจะพูดว่า "เศร้าแล้วก็กลับบ้านไป"
テレビニュース見た → テレビニュース見た พอกลับมา 反省 แล้วเพิ่งจะรู้ตัวว่าลืมพูดต่อท้ายว่า ~ことを見た 55555 ผิดขั้นร้ายแรง *มุดดินหนี*
はず飛行機 → ~はずだった飛行機 อันนี้อาจารย์ก็ช่วยแก้มาให้เหมือนกัน OTL

ประเด็นที่ห้า ในการเล่าเรื่องทั้งสองเรื่อง สิ่งที่พูดไปนั้นพบว่าเหมือนพูดกับตัวเองมากกว่าจะเล่าให้คนอื่นฟัง - -" พอได้อ่านสิ่งที่คนญี่ปุ่นเขียนแล้วรู้เลยว่าต่างกับราวฟ้ากับเหว (แน่นอนว่าของตัวเองเป็นเหว) สาเหตุหลักๆ คือ หนึ่ง ไม่ค่อยอธิบายรายละเอียดให้เห็นภาพเท่าไร สอง ไม่รู้ว่าเวลาจะเปิดประเด็นพูดอะไรสักเรื่องหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นควรจะพูดอย่างไรนั่นเอง... ในเรื่อง 飛行機 ก็เลยพูดว่า ねえ、知ってる?ไป ส่วนอันแรกไม่ได้พูดเปิดประเด็น
ส่วนของคนญี่ปุ่นเขาเปิดประเด็นด้วยคำว่า 「ねえ、ねえ、聞いてよ」、「あのう~けど」อะไรประมาณนั้น ไว้จะจำไปใช้นะขอรับ m(_ _)m

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 4 เรื่องของสองมือ

สวัสดีชาวโลก หลังจากดองมานานจนเกลือเริ่มเกาะแล้ววันนี้ก็ขอกลับมาทุบไหอัพบล็อกกันอีกครั้งนะขอรับ

เอนทรี่นี้ขอเปิดประเด็นนอกเรื่องจากที่เรียนก่อนก็แล้วกันไม่งั้นเดี๋ยวนานแล้วลืม

พอดีเพิ่งใช้คำนี้ลองเขียนในการบ้านไปไม่นาน คำว่า 手を組む นั่นเอง คำนี้เคยอ่านเจอในนิยาย ก็เลยอยากลองเอามาใช้ดู

手を組む เท่าที่สืบค้นมาดูเหมือนคอลโลเคชั่นนี้จะมีสองความหมาย คือ

1. ร่วมมือกัน 協力し合う
  → คิดว่า 協力する เฉยๆ น่าจะหมายถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ความร่วมมือกับอีกฝ่าย แต่ไม่ได้ร่วมกันทำหรือเปล่า เช่น เวลาที่ทำ アンケート ก็เขียนลงท้ายไว้ว่า ご協力ありがとうございました。

2. กอดอก 腕を組む หรือ 腕組みする
 → เห็นว่า 腕を組む มักจะใช้ในกรณีที่กำลังครุ่นคิดอะไรบางอย่างอยู่ เพราะคนชอบกอดอกเวลาคิด
ความหมายที่ใช้เขียนการบ้านไปคือความหมายแรก เพราะต้องการอธิบายว่าคนคนหนึ่งร่วมมือกับคนอีกคนหนึ่งในการทำอะไรสักอย่าง ที่เขียนไปก็ AはBと手を組んでいる。 อะไรประมาณนี้

อันที่จริงเนื่องจากที่เขียนไปยังไม่ได้รับการตรวจกลับมา ก็เลยไม่รู้ว่าถูกมั้ย ก็เลยไม่มีอะไรให้ 反省 ก็เลยจะขอโยงไปถึงคอลโลเคชั่นอื่นๆ ที่มีความหมายคล้ายๆ กันแทนก็แล้วกัน

เท่าที่ลองหาตัวอย่างมาแบบไม่เยอะเท่าไรก็ได้ประมาณนี้

คำว่า 組む มีความหมายว่า เอามาไว้ด้วยกัน ในขณะที่ 手を組む มักจะใช้ในความหมายอย่างที่พูดไปข้างต้น แต่แค่เติม 両 เพิ่มเป็น 両手を組む ก็จะกลายเป็นเอามือประสานกัน (เช่น ตอนอธิษฐานขอพร) เห็นว่ามักจะใช้ในกรณีที่กำลังใช้ความคิดอยู่ 両手を組んで考え込む。

指を組む = ประสานนิ้ว ดูจะคล้ายๆ 両手を組む แต่ต่างกันยังไงไม่แน่ใจแฮะ
手を合わせる = พนมมือ
手をつなぐ = จับมือ
 → ในภาษาไทยคำว่าจับมืออาจหมายถึงร่วมด้วยช่วยกัน (手を組む) ก็ได้
肩を組む = โอบไหล่
足を組む = ไขว่ห้าง(ถ้านั่งเก้าอี้), ขัดสมาธิ(ถ้านั่งพื้น)

สองคำหลังไม่ใช่มือ แต่บันทึกไว้เป็นคอลโลเคชั่นให้จำเพิ่มเติมเฉยๆ...

คอลโลเคชั่นญี่ปุ่นที่หมายถึงการเอาสองมือมาไว้เข้าด้วยกันนี่หลากหลายจริงๆ ใช้ผิดความหมายเพี้ยนเลยนะเนี่ย - -" สำหรับคนไทย (ตัวเองนี่แหละ) อาจจะรู้สึกว่า 組む、合わせる、つなぐ มันก็หมายถึงเอามารวมไว้ด้วยกัน เอามาติดกันเหมือนกันหมด ถ้าไม่ศึกษาให้ดีอาจจะใช้ผิดก็เป็นได้...


ความจริงตอนเขียนการบ้านนี่ได้คอลโลเคชั่นทดลองใช้ใหม่เยอะอยู่ แต่พอเขียนเสร็จก็ลืมแล้วอ้ะไม่ได้บันทึกไว้ OTL ถ้านึกคำอื่นๆ ที่น่าสนใจออกจะมาอัพเพิ่มใหม่ในเอนทรี่ต่อๆ ไปนะขอรับ