วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 目に浮かぶ描写

ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณ 柏さん เป็นอย่างสูงที่ช่วยอ่านและแก้ไขจุดผิดให้ใน 道案内 ครั้งที่แล้ว
はじめまして。ティップと申します。
読んで下さって、そして間違ったところも直して下さって、どうもありがとうございます!m(_ _)m
ครั้งนี้เป็น 目に浮かぶ描写 ที่จริงๆ ควรจะอัพบล็อกตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว แต่ด้วยความที่งานเยอะจนขี้เกียจเลยเพิ่งจะมาทำเอาตอนนี้ - -"

タスク2

ホテルのロビーで二人の男性がソファに座っている。一人は新聞を広げて読んでいて、もう一人はただ腰かけている。その時、ただ腰かけている男性はふと地図を持っている外国人と目が合ってしまう。どうやらその外国人は地図にある文字が読めないので、誰かが場所を教えて欲しそうだ。そこで、ソファに座っている男性は外国語があまりできないせいか、外国人が近づいた時、隣に座っている男性が読んでいる新聞のかげに隠れて、新聞を読んでいるふりをする。

ข้างบนนี้คือ 書き直し แล้ว ตอนดูภาพแล้วอธิบายครั้งแรกใช้คำได้น่าเกลียดมากเพราะนึกอะไรไม่ออก ความสามารถในการพูดสดยังไม่พัฒนาไปไหน ช่างน่าเศร้าใจยิ่งนัก
เนื่องจากไม่อยากเอาทั้งหมดมาโชว์ เพราะฉะนั้นก็ขอยกมาเป็นคำๆ แทนก็แล้วกันนะขอรับ
ก่อนอื่นเลย ตอนแรกที่อยากจะพูดว่า ผู้ชายคนหนึ่งนั่งเฉยๆ บนโซฟา ใช้คำว่า ただ座っている ไป เมื่ออ่านมาเห็นตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นเขียนแล้วเขาก็ใช้คำว่า ただ เหมือนกัน แต่คำว่านั่งใช้ 腰かける แทน 座る อันนี้ยังไม่รู้เหมือนกันว่าความหมายแตกต่างกันมั้ย
ข้อต่อมา คำว่าบังเอิญสบสายตา ตอนแรกใช้ 目を合わせる แต่จริงๆ มันต้องเป็น 目が合う เนื่องจากไม่ได้ตั้งใจทำ แล้วก็ได้คำว่า ふと เพิ่มเติมจากตัวอย่างของคนญี่ปุ่นด้วย แต่ตอนเขียนบล็อกนี้เพิ่งสังเกตว่าที่จริงควรจะเขียนว่า ただ腰かけている男性は地図を持っている外国人とふと目が合ってしまう。มากกว่า เพราะถ้าเอา ふと ไปอยู่หน้า 地図を持っている外国人 มันจะดูเหมือนว่าชาวต่างชาติคนนั้นบังเอิญถือแผนที่อยู่แทน OTL
แล้วก็ยังมีจุดผิดที่ตลกมากอีกจุดหนึ่ง ตอนแรกอยากจะพูดว่าผู้ชายที่นั่งเฉยๆ เห็นชาวต่างชาติจะเข้ามาถามทางเลยกระเถิบเข้าไปนั่งติดกับชายที่อ่านหนังสือพิมพ์อยู่ ดันไปใช้คำว่า 新聞を読んでいる男の人と合わせる ความหมายมันคนละเรื่องสุดๆ เลยอะ 555 พูดแล้วก็อับอายตัวเอง ตอนกะทันหันมันคิดคำว่า 近づく ไม่ออกทั้งๆ ที่รู้ว่าน่าจะใช้คำนี้ได้
นอกจากนี้ ยังมีจุดที่ผิดโดยที่รู้ตัวว่าผิด แต่เนื่องจากพูดไปแล้วพูดแก้ไม่ได้ด้วย เช่น ใช้คำว่า あの人 เรียกผู้ชายในภาพ ทั้งๆ ที่ต้องใช้ その人 เพราะ あの จะใช้ในกรณีที่ผู้พูดและผู้สนทนารู้จักหรือมีความทรงจำเรื่องเดียวกันร่วมกัน หรือไม่ก็พร่ำรำพันกับตัวเองถึงความทรงจำในอดีต แต่ตอนที่พูดอธิบายภาพครั้งแรกก็ดันใช้ あの ไปซะงั้น แล้วก็ยังคำว่า かもしれない เช่น 外国人が怖いかもしれない เพราะตอนพูดได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยที่ใช้คำว่าอาจจะ จึงแปลมาจากประโยค อาจจะกลัวชาวต่างชาติก็เป็นได้ อาจจะในที่นี้ก็เลยแปลเป็น かもしれない ไป แต่ก็รู้ว่าในกรณีนี้ในภาษาญี่ปุ่นมักจะใช้ そう แทน ก็จะเป็น 怖そう แต่ที่เขียนแก้ใหม่ตัดประโยคนี้ทิ้งไปแล้วเปลี่ยนประโยคใหม่เป็น 外国語があまりできないせいか ไปแทนแล้ว
อีกจุดหนึ่งที่ผิด คือจุดที่บอกว่าแสร้งทำเป็นอ่านหนังสือพิมพ์ ตอนแรกใช้คำว่า 新聞を読んでいるぶりにする แล้วก็พบว่ามันต้องเป็น 新聞を読んでいるふりをする ต่างหาก ตอนแรกที่พูดว่า ぶり เนื่องจากติดคำว่า ~ぬぶり มานั่นเอง...
จุดที่พูดผิดในตอนแรกที่สำคัญๆ คิดว่ามีเท่านี้นะขอรับ
นอกจากเรื่องที่ใช้คำผิดๆ แล้ว จากการอ่านตัวอย่างของคนญี่ปุ่นก็ได้วิธีการใช้คำเพิ่มมาเยอะเหมือนกัน นอกจากคำที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วก็ยังมีคำว่า どうやら คู่กับ そう หรือ よう ที่เจอใน アニメ บ่อยๆ ชอบคำนี้มากแต่ไม่เคยเอามาใช้ ตอนที่เขียนแก้ใหม่เลยขอหยิบมาใช้ซะเลย
แล้วก็ยังมีคำว่าซ่อนในเงาหนังสือพิมพ์ก็ต้องใช้ 新聞のかげに隠れる ไม่ใช่ 隠す ถึงตอนที่อธิบายครั้งแรกจะไม่ได้ใช้คำนี้ แต่คิดว่าถ้าตัวเองใช้ต้องใช้ผิดเป็น 隠す แหงๆ
มีคำหนึ่งที่เคยเจอตอนอ่านนิยายบ่อยๆ ก็เลยลองเอามาใช้ในที่นี้บ้างไม่รู้จะถูกหรือไม่ คำที่ว่าก็คือ そこで นั่นเอง คิดว่ามันน่าจะหมายความว่า ในตอนนั้นเอง ล่ะมั้ง?
สรุปแล้วเรื่องการพูดของตัวเองนี่ยังต้องปรับปรุงอีกเยอะมากกกกกกกกกกกกกกจริงๆ OTL

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 道案内

บทนี้จะขอกล่าวถึงงานชิ้นแรกที่ได้รับมอบหมาย タスク1:手際の良い説明 นะขอรับ

ก่อนอื่นก็บทเขียนที่แก้แล้วหลังจากได้รับคอมเม้นต์จากเพื่อนและจุดผิดที่อาจารย์ชี้มาให้

タイトル:BTSチョンナンシ駅からチュラ大学のBRKビルへの行き方

BTSチョンナンシ駅からチュラーロンコーン大学文学部のBRKビルまでの道のりを説明します。手段はBTSと徒歩です。
まず、25バーツのBTSの切符を買って、BTSチョンナンシ駅から「ナショナル・スタジアム駅」行きの電車に乗車します。チョンナンシ駅から数えて3つ目のサイアム駅で下車してください。電車を降りたら、階段を下ります。そして、サイアム駅の表示に従って「6番の出口」を目指して、改札口を出ます。6番の出口はサイアム・パラゴンというデパートの向こう側にあります。ここで注意して欲しいのが、6番の出口には2つの階段があるということです。1つ目の階段は改札口を出ると、すぐに見えます。もう1つの階段はセントラル・ワールドへのスカイウォークに繋がります。スカイウォークに繋がる道を少し歩いて、1番近い階段を下りてください。
次に、チュラーロンコーン大学まで徒歩で行きます。階段を下りたら、ブーツという店が左側に見えます。そこで後ろに向き直って、その道を直進してください。10分ぐらい徒歩して、パトゥムワン・デモンストレーションという学校を通ったら、ようやくチュラーロンコーン大学に到着します。チュラーロンコーン大学に入ったら、MCSというビルが右側に見えます。MCSビルの1階には食堂があります。BRKビルはMCSビルの隣にあります。大学の門から2つ目のビルなのです。

ต่อมาคือความรู้สึกหลังและการคิดทบทวนตัวเองจากการทำงานนี้
อย่างแรกคือ ครั้งแรกที่เขียนแนะนำทางอ่านแล้วเข้าใจยาก คำศัพท์ที่ใช้ก็ดูเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน พูดง่ายๆ คือเป็นคำศัพท์ง่ายๆ ที่คิดออกในตอนนั้นนั่นเอง ร้ายกว่านั้นยังบอกจุดสังเกตบางอย่างผิดอีกต่างหาก 555 กริยาที่ใช้ผิดที่อยากจะเก็บไว้เป็นจุดสังเกตในครั้งนี้ก็คือคำว่าลงบันได 階段を下りるที่ตอนแรกเขียนเป็น 階段を降りる ความจริงดูเหมือนว่าจะมีการใช้คันจิที่พ้องเสียงทั้งสองตัวนี้ในกรณีลงบันไดทั้งคู่เหมือนกัน แต่หลังจากที่ได้ค้นข้อมูลเพิ่มเติมจาก google แล้วได้ผลเป็นเว็บ yahoo ของญี่ปุ่นอีกที ก็เห็นคนญี่ปุ่นคนหนึ่งบอกว่า 下りる คือการเคลื่อนย้ายตำแหน่งจากข้างบนลงมาข้างล่าง ส่วน 降りる คือการเคลื่อนย้ายจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง พูดง่ายๆ คือ
下りる←→上がる、昇る
降りる←→登る、乗る
แล้วก็บอกเพิ่มเติมว่า 下 อ่านว่า くだる และ さがる ได้ด้วย จะช่วยในการจดจำการใช้คันจิสองตัวนี้ได้ง่ายขึ้น
หลังจากนั้น พออาจารย์เอาตัวอย่าง 道案内 ของคนญี่ปุ่นมาให้ดูแล้วจึงได้ตระหนักถึงความอ่อนด้อยในการใช้คำและไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นในการเขียนของตนเองยิ่งนัก (แต่ก็ยังดีกว่าพูดนิดหน่อย) ตัวอย่างที่อาจารย์นำมาให้ดูมีประโยชน์มาก เป็นตัวอย่างการใช้คำ ใช้ประโยค ใช้ไวยากรณ์ที่ดีควรค่าแก่การจดจำแล้วนำไปใช้ตามยิ่งนัก เช่น การจบท้ายประโยคสุดท้ายด้วย のです ซึ่งแสดงการเน้นย้ำสิ่งที่ได้อธิบายไปก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม หลังจากแก้งานชิ้นนี้ครั้งที่หนึ่งแล้วก็พบว่าเมื่อมีตัวอย่างงานมาให้ดูแล้วสามารถเขียนได้ดูดีอ่านเข้าใจง่ายกว่าเดิม และเนื่องจากมีเวลาคิดทบทวนและหาข้อมูลจึงสามารถใส่รายละเอียดเพิ่มเติมให้เป็นจุดสังเกตได้มากขึ้น แต่ก็ยังบอกจุดสังเกตบางอย่างผิดอยู่ดี 555 หลังจากรับคอมเม้นต์จากเพื่อน และได้รับการชี้แนะจุดผิดจากอาจารย์ก็พบว่ายังใช้กริยาบางคำผิดอยู่ เช่น ในภาษาญี่ปุ่นประธานของประโยคที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถทำกริยาที่เป็นความตั้งใจได้ ในที่นี้คำที่ใช้ผิดก็คือ เอา 6番の出口 (ทางออกหมายเลข 6) ไปเชื่อมกับกริยา へ導く (นำไปสู่) นอกจากนี้ก็ยังใช้กริยาผิด จากที่ตั้งใจจะเขียนว่ากลับหลังหัน 後ろに向き直る ตอนแรกรู้จักแต่คำว่า 振り返る (ความหมายทำนองหันไปมอง) ก็เลยเขียนเป็น 後ろを振り返る ไป ผิดความหมายไปซะอย่างนั้น 555 คนอ่านคงจะงงว่าบอกให้หันกลับไปมองแล้วเดินต่อไปทำไม...
สรุปได้ว่าการทำงานชิ้นแรกได้ชี้ให้เห็นจุดอ่อนและข้อผิดพลาดทางการใช้ภาษาญี่ปุ่นของตัวเองหลายจุดมาก แต่ก็แก้ไขและเพิ่มคลังคำศัพท์ในสมองได้หลายคำเช่นเดียวกัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานที่แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วนี้จะไม่มีข้อผิดพลาดที่มากขึ้นกว่าเดิม เพราะคราวนี้ไม่มีคนตรวจเช็คข้อผิดให้ ถ้าใช้ผิดแล้วก็อาจจะจำไปใช้ต่อไปแบบผิดๆ ได้นั่นเอง... OTL

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เรื่องของจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก

เนื่องจากชาวบ้านเขาเริ่มบันทึกของตัวเองกันไปแล้ว ข้าพเจ้ายังมีแค่บทเกริ่นนำ... วันนี้เป็นฤกษ์งามยามดี(?) จึงขอเริ่มกับเขาบ้างก็แล้วกัน
อย่างไรก็ดี ยังคงไม่รู้อยู่ดีว่าจะต้องทำแบบไหน ข้าพเจ้าที่เลือกหัวข้อหลักเป็นการพูด หัวข้อย่อย コロケーション ที่ว่ายังไม่รู้ว่าต้องทำแบบไหนเพราะปกติไม่ค่อยได้พูดญี่ปุ่นนั่นเอง ฮ่าๆ มีบ้างที่พยายามจะพูดกับเพื่อน แต่ก็ไม่รู้สึกว่าได้คำศัพท์อะไรใหม่ๆ เท่าไร - -"
เพราะงั้นขอทำเป็นแบบบันทึก コロケーション ที่พบเจอในช่วงนั้นๆ เลยก็แล้วกัน
อ้อ ที่จริงก็อยากทำเรื่อง 文末 ที่อยู่ในหมวดไวยากรณ์ด้วยเช่นกัน เพราะรู้สึกว่าฝึกพูดได้ง่ายกว่า เพราะฉะนั้นอาจจะแทรก 文末 มาบ้างเป็นระยะๆ นะขอรับ

ก่อนอื่นบทความของวันนี้ก็ขอพูดถึง コロケーション ที่พบในวิชาการสนทนาภาษาญี่ปุ่นซึ่งได้เรียนไปในวันนี้นี่แหละ อันที่จริงก็มีหลายคำ แต่คราวนี้จะขอพูดถึงสำนวนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก จิตใจอย่างเดียวก่อนก็แล้วกัน คำแรกคือ 腹が立つ แปลว่าโกรธ ตอนแรกที่เห็นคำนี้ก็งง ว่าท้องตั้ง ท้องยืนทำไมแปลว่าโกรธ แต่ก็สังเกตว่าคนญี่ปุ่นจะชอบใช้คำว่า 腹 (ท้อง) ในกรณีของความรู้สึก จิตใจ ซึ่งปกติคนไทยก็จะใช้คำว่าใจนั่นแหละ อย่างคำว่าใจดำ ก็เป็น 腹黒い (ท้องดำ) จริงๆ ก็น่าสนใจนะว่าทำไมคนญี่ปุ่นถึงชอบใช้คำว่า 腹 ถ้าหาข้อมูลเรื่องนี้ได้ก็จะนำมาแปะไว้นะขอรับ
นอกจากท้องแล้ว ในวิชาสนทนาวันนี้ก็มีคำว่า 頭にきる ที่แปลว่าโกรธ ไม่พอใจอีกเช่นกัน เห็นคำนี้ก็นึกถึงคำในภาษาไทยอะไรประมาณว่า ปรี๊ดขึ้นสมอง ก็เลยคิดว่าภาษาญี่ปุ่นกับภาษาไทยก็มีคำที่สื่อความหมายคล้ายๆ เยอะเหมือนกันนะ พอพูดแบบนี้แล้วก็คิดต่อไปได้ว่าเพราะคนเอเชียมีวัฒนธรรมอะไรบางอย่างร่วมกันหรือเปล่า แต่เรื่องอารมณ์ความรู้สึกนี้ ปกติก็มักจะเกี่ยวกับจิตใจหรือสมองอยู่แล้ว ถึงแม้สมองจะเป็นส่วนที่สั่งการ แต่เวลารู้สึกอะไรก็ส่งผลให้จังหวะหัวใจเปลี่ยนไปด้วย เพราะงั้นแม้จะเป็นชาติตะวันตกก็อาจจะเหมือนกันก็ได้ ถ้าอย่างนั้นก็คงไม่ใช่แค่วัฒนธรรมร่วมกันของคนเอเชีย แต่กลายเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์มากกว่า เพิ่งเคยเห็นญี่ปุ่นนี่แหละที่เห็นใช้คำว่าท้องในกรณีของจิตใจ รู้สึกว่าก็แปลกดีเหมือนกัน 55
นอกจากนี้ก็มีคำว่า 胸を打たれる แปลว่าถูกทำให้ประทับใจ เนื่องจาก 打つ แปลว่าจู่โจม โจมตี ก็เลยทำให้คิดว่าเมื่อจิตใจถูกอะไรบางอย่างจู่โจมเข้ามา มันก็เลยประทับอยู่ข้างในงั้นสินะ อีกคำหนึ่งคือ 胸がいっぱいになる แปลว่าดีใจ คิดว่าน่าจะคล้ายกับคำว่าอิ่มเอมใจ อิ่มอกอิ่มใจ อะไรแบบนี้หรือเปล่าหว่า? คำหลังนี้ข้าพเจ้าพบในเพลงเพลงหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงเกี่ยวที่มีเนื้อหากับเพื่อน ในท่อนที่ร้องว่า 「今は全ての出会いが宝物になって 言葉に出来ないくらいの想いが溢れて 胸がいっぱい」 ดูจากบริบทแล้วก็น่าจะหมายถึงรู้สึกดีใจมาก มีความสุขมากราวกับว่าจิตใจได้รับการเติมเต็มอะไรแบบนั้นล่ะมั้ง

เรื่องของท้อง สมอง และใจยังไม่จบลงแต่เพียงเท่านี้ แต่ตอนนี้นึกออกแค่นี้ เพราะงั้นหากมีสิ่งที่น่าสนใจนอกจากนี้ก็จะมาเพิ่มเติมทีหลังนะขอรับ



ป.ล. เพลงที่กล่าวถึงชื่อเพลง 「ありがとう」を伝えたい ที่มิคุ (โวคาลอยด์) ร้องนะขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อารัมภบท

ฮัลโหล เทสท์ เทสท์ หนึ่ง สอง สาม...

เพิ่งเคยใช้งานบล็อกนี้เป็นครั้งแรก ยังงงกับระบบหลายๆ อย่างอยู่
นอกจากนั้นก็ยังงงๆ กับงานที่ได้รับมอบหมายเช่นกัน เนื่องจากไม่ได้เข้าไปฟังคำอธิบายในคาบเรียนแรกเพราะเพิ่งลงทะเบียนทีหลัง - -"
ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่ค่อยแน่ใจเลยว่าเรื่องที่ตัวเองเลือกทำมันต้องทำยังไง 555 แต่ก็จะพยายามให้ดีที่สุดก็แล้วกัน


เป้าหมายและปณิธานในการทำบล็อกนี้
เนื่องจากเลือกหัวข้อการพูดและหัวข้อย่อยคำศัพท์ : คอลโลเคชั่นไป ก็ย่อมแน่นอนว่าต้องการพัฒนาทักษะทางการพูดของตัวเอง
สาเหตุ :   - รู้ตัวว่าทุกวันนี้พูดภาษาญี่ปุ่นได้ย่ำแย่มาก คือไม่สามารถแปลสิ่งที่อยากจะพูดได้ทันเวลาพูด
               - บางทีก็นึกศัพท์ญี่ปุ่นไม่ออก และหลายๆ ครั้งที่ไวยากรณ์ก็มั่ว พูดผิดพูดถูก (แน่นอนว่าส่วนใหญ่ผิด) เพราะการพูดไม่มีเวลาให้คิดมาก เพราะมีคนรอฟังอยู่เมื่อคิดแล้วต้องพูดเลยไม่มีเวลาทบทวน
               - ต่างจากการเขียนที่มีเวลาให้คิดเยอะกว่า และคิดว่าเพราะคิดก่อนได้ เลยมีปัญหากับการเขียนน้อยกว่า
               - ดังนั้นการทำเรื่องคอลโลเคชั่นอาจจะดีก็ได้ เป็นการเพิ่มคลังคำศัพท์และการใช้งานไปในตัว เพราะรู้สึกว่าตัวเองรู้ศัพท์น้อย (มีปัญหากับศัพท์มากกว่าไวยากรณ์ มั้ง) เวลาจะพูดอะไรก็พูดไม่ค่อยได้เพราะนึกศัพท์ไม่ออก ต้องถามชาวบ้านตลอด นั่นแหละประเด็น...


ส่วนเครื่องมือที่จะใช้สืบค้นการใช้คอลโลเคชั่น
                - อันนี้ต้องขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ได้แนะนำเว็บไซต์ค้นหาคอลโลเคชั่นภาษาญี่ปุ่น http://nlb.ninjal.ac.jp/ มาให้ เป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์มากจริงๆ ถ้าไม่ได้อาจารย์แนะนำนี่จะไม่มีทางรู้จักเลย ซาบซึ้งมากขอรับ T^T
                - นอกจากนี้ก็ยังมีเว็บไซต์ที่คาดว่าทุกคนคงใช้กัน http://www.google.com/ นั่นเอง ฮ่าๆๆ ใช้สืบค้นได้ทุกอย่างตั้งแต่ศัพท์ยันไวยากรณ์ ฯลฯ
                - สำหรับการเพิ่มเติมคลังคอลโลเคชั่นทางอื่นนั้น ก็ต้องขอบคุณการ์ตูนญี่ปุ่นทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นอนิเมหรือมังงะ รวมถึงนิยายที่พยายามจะแปลอยู่ด้วย เพราะหลายๆ คำที่อ่านเจอบ่อยก็จดจำและลองนำไปใช้ตาม และเพราะว่าได้อ่านได้เห็นจากอนิเม มังงะ นิยายที่ชอบนี่แหละ จะทำให้จำได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเคยได้แปลมาแล้ว เวลาจะนึกศัพท์นึกไวยากรณ์อะไรไปใช้ก็จะจำได้ว่าเคยแปลคำที่มีความหมายอย่างนี้มานะ สำหรับตัวเองแล้วมันติดตามากกว่าคำที่เคยเจอครั้งเดียวในห้องเรียน อีกอย่างถ้าลืมก็สามารถกลับไปค้นจากหนังสือเหล่านั้นได้


หมายเหตุ : บล็อกนี้จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานในรายวิชา Applied Japanese Linguistic ของนิสิตเอกภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะขอรับ m(_ _)m


แก้ไขครั้งที่ 1 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2556
แก้ไขครั้งที่ 2 วันที่ 17 มกราคม 2557