ก่อนหน้านี้แปลซับเรื่อง Hormones เลยอยากจะเอามาลง แต่ขอลงแยกเป็นเรื่องๆ ไป เอนทรี่นี้ขอเอาคำทำนายมาลงก่อนนะขอรับ
มันคือคำทำนายที่เต้ยเสี่ยงเซียมซีได้มา แต่ไม่ได้แปลหมด แปลมาเฉพาะส่วนที่เต้ยพูด เพราะในฉากมันโผล่คำทำนายเต็มไม่ถึงสิบวิแล้วก็หายไป ครั้นจะแปลทั้งหมดยัดลงในหน้าเดียวก็เกรงใจคนอ่าน...
ข้อความสีเขียวคือข้อความในใบเซียมซีที่เต้ยได้
ดังคนจรเดินป่าพนาลัย ลัดวิถีทางไกลในพนา
「流浪人のように森を歩き、近道を行く
ต้องโดนหนามเกี่ยวกีดขีดกางกั้น
茨の道を辿り、トゲに刺され」
นี่ ถามหาลาภว่าได้เหมือนใจคิด แต่ติดนิดอุปสรรคมักขัดข้อง
これ、「幸運は思い通りに生まれる。だが、支障でうまくいかない
จะเป็นปากเป็นเสียงเถียงประลอง เฮ้ยพอเหอะ
けんかになる」・・・もう、いい
ไม่ได้แปลตรงตามทุกตัวอักษร ไม่ได้ทำให้มันคล้องจอง แบบว่าไม่ได้สามารถขนาดนั้น 555
มาดูกันทีละคำไปเลยละกัน
ดังคนจร ฟังแล้วนึกถึงคนพเนจร และพอนึกถึงคนพเนจรก็นึกถึง wanderer ไม่ก็ vagabond (ความจริงความหมายของสองคำนี้ก็ต่างกันอยู่ อันแรกฟังดูเหมือนคนที่เทียวไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดหมายแน่นอน ส่วนอันที่สองออกเชิงคนจรจัด เมื่อลองหาคำภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายใกล้เคียงสองคำนี้ก็ได้มาหลายคำมาก เช่น 渡り者、流浪人、旅烏、遊子、風来坊、漂泊者、浮浪者、放浪者 เอาล่ะสิ เยอะขนาดนี้จะเลือกใช้คำไหนดี ก่อนอื่นก็มาดูความหมายของแต่ละคำก่อนดีกว่า
渡り者(わたりもの) → 1. คนที่ไปโน่นมานี่ เปลี่ยนเจ้านายไปเรื่อยๆ
2. คนที่จรไปเรื่อยๆ ไม่ลงหลักปักแหล่ง
3. คนที่มาจากถิ่นอื่น แล้วมาอาศัยอยู่ที่นี่
流浪人(るろうにん) → 1. คนที่ไม่ตัดสินใจเลือกอาศัยอยู่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วเร่ร่อนไปเรื่อยๆ
旅烏(たびがらす) → 1. คนที่ท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ ไม่ปักหลักอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
2. คนที่มาจากถิ่นอื่น
(ความหมายตามคันจิคือกาที่ไม่มีรังเป็นของตัวเอง เป็นคำแสดงการดูถูก)
遊子(ゆうし) → 1. คนที่จากบ้านไปอาศัยอยู่ที่อื่น
2. นักท่องเที่ยว
風来坊(ふうらいぼう) → 1. คนที่ไม่รู้ที่มาที่ไป
2. คนที่ไม่รู้ที่มา และไม่หยุดพักอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
漂泊者(ひょうはくしゃ) → 1. คนที่ไม่ลงหลักปักแหล่ง พเนจรไปเรื่อยๆ
浮浪者(ふろうしゃ) → 1. คนที่จรไปเรื่อยๆ ไม่ลงหลักปักแหล่ง (เคยเป็นคำญี่ปุ่นของ ホームレス)
放浪者(ほうろうしゃ) → 1. คนที่จรไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดหมายปลายทาง
ดูๆ ไปแล้วความหมายก็เหมือนๆ กันทั้งนั้น สารภาพตามตรงเลยว่าสาเหตุที่เลือก 流浪人 ไม่ใช่เพราะเช็คความหมายแล้วมันเหมาะสมที่สุด แต่เลือกโดยที่ไม่ได้เช็คความหมายของทุกคำที่ให้ไปข้างต้นก่อน ด้วยเหตุผลคือมันคล้ายชื่อการ์ตูนเรื่อง るろうに剣心 55555
นอกจากนั้น บางคำอย่างเช่น 旅烏 นี่ไม่ใช้อยู่แล้วเพราะมันออกแนวดูถูก (จริงๆ ก่อนจะเลือกใช้คำใดคำหนึ่งไม่ได้รู้หรอกว่าคำนี้มันเชิงดูถูก) ส่วน 遊子 นี่ก็ออกแนวท่องเที่ยว แล้วอย่างคำว่า 浮浪者 อะไรแบบนั้นก็มีความหมายเหมือนจรจัด ซึ่งฟังดูเป็นความหมายทางลบไปหน่อย ก็เลยคิดว่าถ้าใช้คำที่หมายถึงพเนจรไปเรื่อยๆ เพราะไม่อยากลงหลักปักฐานน่าจะฟังดูดีกว่า แล้วประโยคที่บอกว่า "เดินป่าพนาลัย" นี่ก็ออกแนวพเนจรท่องเที่ยวมากกว่า ไม่ใช่พเนจรเพราะจรจัด ไร้ที่อยู่อาศัย เพราะงั้นจึงเลือกใช้คำที่ให้ความหมายว่า wanderer มากกว่า vagrant นั่นเอง
แค่หาความหมายของคนจรก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว 555 เพราะฉะนั้นเอนทรี่นี้ขอค้างไว้เพียงเท่านี้ก่อน แล้วจะมาทำภาคต่อเรื่องคำแปลเซียมซีนี้ใหม่ในเอนทรี่หน้านะขอรับ
วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทที่ 9 ご馳走様でした!
เอนทรี่นี้ว่าด้วย Task สุดท้ายที่เป็นการบ้าน นั่นก็คือการส่งจดหมายไปขอบคุณ
จดหมายที่เป็นหัวข้อในคราวนี้ก็คือ お礼メール ขอบคุณอาจารย์ที่กรุณาเลี้ยงอาหารนั่นเอง
เฉพาะส่วนเนื้อหาที่ส่งไปนั้นก็สั้นๆ ยังไม่ค่อยมีอะไรมาก ก็รู้สึกว่าแบบเป็นเมลขอบคุณ ก็ไม่รู้จะเขียนอะไรให้มันยาว สุดท้ายก็ได้มาแค่ประมาณนี้เองขอรับ
先日はラーメン停というラーメン屋で食事をおごって下さって、誠にありがとうございました。タイではあのようなおいしいラーメンを食べるのは初めてでした。いいラーメン屋をご紹介くださって、再びありがとうございました。あの屋は私の家から遠いですが、機械があれば、ぜひまた食事をしに行きます。
ก่อนอื่นก็มา 反省 อันข้างบนก่อน อันที่จริงอาจารย์ไม่ได้แก้อะไรกลับมาให้ แต่ก็อาจจะมีส่วนที่ผิดอยู่ ยังไงก็จะพูดถึงส่วนที่คิดว่าแปลกๆ หรือน่าจะทำให้ดีกว่านี้ได้ หรืออื่นๆ ก็แล้วกันนะขอรับ
1. 食事をおごって下さって นี่ ดูเหมือนว่าจะใช้ ご馳走になり แทนก็ได้
2. ส่วน あのようなおいしいラーメン จริงๆ ตอนใช้ก็รู้สึกแปลกๆ เพราะปกติคุ้นเคยกับ あんな ไปเลยมากกว่า แต่ด้วยความที่คิดว่ามันสุภาพน้อยกว่า บวกกับจำได้ว่าเคยเห็นในหนังสือ J501(มั้ง?) บอกไว้ว่า ~んな จะให้ความหมายในแง่ลบ ก็เลยใช้ あのような ไปซะเลย แม้ตัวเองจะรู้สึกแปลกๆ เพราะไม่ชินก็ตาม...
3. 食べるのは初めてでした ดูเหมือนจะผิดแหละ... ที่จริงต้องเป็น 食べたのは初めてでした เพราะว่าได้กินไปแล้ว ถ้าใช้ ~るのは初めて นี่น่าจะหมายความว่าจะได้ทำเป็นครั้งแรก มั้ง อันนี้คิดเองนะขอรับ 555
4. 再びありがとう อันนี้อยากจะพูดว่าขอบคุณอีกครั้ง แต่ก็ไม่รู้ว่าควรจะพูดยังไง... ตอนแรกก็ลังเลอยู่ระหว่าง またありがとう แต่ก็รู้สึกว่ามันแปลกๆ ไม่น่าจะเข้ากัน หรือจะใช้ 改めて อันนี้ก็รู้สึกประหลาดอยู่ดี (คิดไปเอง) ก็เลยใช้ 再び ไป ปรากฏว่าเพิ่งจะลองค้นหาในกูเกิ้ลดู ก็พบกับ 改めて感謝いたします จากเว็บที่บอกประโยคตัวอย่างที่ใช้ในธุรกิจ (http://www.berlitz.co.jp/phrase/02index.html) แต่กลับไม่พบคำว่า 再びありがとう แต่อย่างใด ไม่รู้ว่าหาไม่ดีหรือมันไม่มีจริงๆ แต่สรุปแล้วที่คิดว่า 改めてありがとう แปลกนี่คิดไปเองจริงๆ ด้วย 555 ไม่งั้นมันก็คงจะแปลกเพราะ 改めて ดูเป็นทางการ ในประโยคตัวอย่างที่พบก็ใช้คู่กับคำถ่อมตน... เอาเป็นว่ามันเป็นความรู้ใหม่ จะจำไว้ใช้นะขอรับ
5. あの屋 ปกติมักจะเห็น 屋 ตามหลังประเภทร้าน หรือไม่ก็เป็นคำแสดงความหมายว่าคน (恥ずかしがり屋、等) พอจะเอามาใช้โดดๆ แบบนี้ก็รู้สึกเองอีกนั่นแหละว่าแปลก แต่ว่าก่อนหน้านี้ที่พูดถึงร้านราเมง ก็เป็น ラーメン屋 ไป ถ้าจะเปลี่ยนเป็น 店 ก็เลยรู้สึกแปลกอีก - -" อาจจะคิดไปเองก็ได้ 555 ว่าแต่สรุปแล้วร้านที่เรียกลงท้ายว่า 屋 จะเรียกว่าเป็น 店 ได้มั้ย น่าสงสัยยิ่งนัก...
6. ความจริงตอนแรกคิดว่าจะเขียนขอบคุณด้วยประโยค 感謝しても、しきれません (ขอบคุณเท่าไรก็ไม่พอ) เพราะเพิ่งอ่านเจอในการ์ตูน 555 แต่ก็มาคิดได้ว่ามันดูโอเวอร์เกินไปที่จะใช้พูดเมื่ออีกฝ่ายเลี้ยงอาหารเพียงครั้งเดียว ไม่งั้นก็ต้องรู้สึกเป็นพระคุณมาก แบบถ้าไม่เลี้ยงคงอดตายแน่ๆ อะไรประมาณนั้นถึงจะพูดแบบนี้ล่ะมั้ง
7. นอกจากนั้นตอนแรกยังอยากจะเขียนต่อให้ยาวเล่นๆ ด้วยว่าถ้าอาจารย์(ที่เลี้ยง)ชอบอาหารไทย จะแนะนำร้านอาหารไทยเด็ดๆ ให้ แต่ก็คิดว่าถ้าเขียนไปแบบนั้นอาจารย์คงจะต้องส่งเมลกลับมาอีกรอบ ก็เลยไม่เขียนดีกว่า 555 ปรากฏว่าอาจารย์กนกวรรณบอกว่ามันเป็นหนึ่งในวิธีสานสัมพันธ์ต่อในอนาคต... เอาไว้จะลองใช้หากมีโอกาสนะขอรับ
หลังจากนั้นก็อันที่อาจารย์ให้ลองเขียนใหม่ในห้อง โดยมีประโยคนำให้แล้วให้มาเขียนขยายความต่อเอาเอง
昨日は、すてきなお店でおいしい料理をごちそうになり、ありがとうございました。
タイではあんなにおいしい日本料理を食べたのは初めてでした。料理の味はタイの全国に支店がある日本レストランのと大きく違ったと感じられました。値段は少し高いと存じますが、料理の味と食材の新鮮さでは適正価格だと存じます。
今度、バンコクにいらっしゃる機械があれば、私の学校にもお立ち寄りください。田中先生とお目にかかれるのを楽しみにしています。
ส่วนสีม่วงเข้มนั้นคือประโยคที่มีมาให้อยู่แล้ว และสีม่วงบานเย็นคือประโยคที่ต่อเติมเสริมแต่งคำว่า おいしい料理 ในประโยคก่อนหน้านี้เอาเอง
เนื่องจากที่ให้มาเขียนแค่สามบรรทัด เลยเวิ่นได้เท่านี้ 555 ในส่วนของ あんな นี่ก็ลองใช้ตามแบบที่คุ้นเคย โดยที่ยังไม่รู้เหมือนเดิมว่าควรจะใช้ あのような แบบข้างบน หรือ あんな แบบนี้แหละดี ส่วน 食べたのは初めてでした นี่ก็แก้จากข้างบนแล้ว แล้วก็มีเรื่องคำศัพท์ใหม่ที่ได้มาจากตัวอย่างในห้อง คือ 食材 (ส่วนประกอบในอาหาร) และ 適正価格 (ราคาสมเหตุสมผล) ที่ไม่มีใครสอนแต่เปิดดิกเจอก็เลยเอามาลองใช้ดูขอรับ
ไม่รู้ถูกผิดยังไง หากท่านใดมีคำแนะนำดีๆ ก็ขอความกรุณาชี้แนะด้วยนะขอรับ m(_ _)m
จดหมายที่เป็นหัวข้อในคราวนี้ก็คือ お礼メール ขอบคุณอาจารย์ที่กรุณาเลี้ยงอาหารนั่นเอง
เฉพาะส่วนเนื้อหาที่ส่งไปนั้นก็สั้นๆ ยังไม่ค่อยมีอะไรมาก ก็รู้สึกว่าแบบเป็นเมลขอบคุณ ก็ไม่รู้จะเขียนอะไรให้มันยาว สุดท้ายก็ได้มาแค่ประมาณนี้เองขอรับ
先日はラーメン停というラーメン屋で食事をおごって下さって、誠にありがとうございました。タイではあのようなおいしいラーメンを食べるのは初めてでした。いいラーメン屋をご紹介くださって、再びありがとうございました。あの屋は私の家から遠いですが、機械があれば、ぜひまた食事をしに行きます。
ก่อนอื่นก็มา 反省 อันข้างบนก่อน อันที่จริงอาจารย์ไม่ได้แก้อะไรกลับมาให้ แต่ก็อาจจะมีส่วนที่ผิดอยู่ ยังไงก็จะพูดถึงส่วนที่คิดว่าแปลกๆ หรือน่าจะทำให้ดีกว่านี้ได้ หรืออื่นๆ ก็แล้วกันนะขอรับ
1. 食事をおごって下さって นี่ ดูเหมือนว่าจะใช้ ご馳走になり แทนก็ได้
2. ส่วน あのようなおいしいラーメン จริงๆ ตอนใช้ก็รู้สึกแปลกๆ เพราะปกติคุ้นเคยกับ あんな ไปเลยมากกว่า แต่ด้วยความที่คิดว่ามันสุภาพน้อยกว่า บวกกับจำได้ว่าเคยเห็นในหนังสือ J501(มั้ง?) บอกไว้ว่า ~んな จะให้ความหมายในแง่ลบ ก็เลยใช้ あのような ไปซะเลย แม้ตัวเองจะรู้สึกแปลกๆ เพราะไม่ชินก็ตาม...
3. 食べるのは初めてでした ดูเหมือนจะผิดแหละ... ที่จริงต้องเป็น 食べたのは初めてでした เพราะว่าได้กินไปแล้ว ถ้าใช้ ~るのは初めて นี่น่าจะหมายความว่าจะได้ทำเป็นครั้งแรก มั้ง อันนี้คิดเองนะขอรับ 555
4. 再びありがとう อันนี้อยากจะพูดว่าขอบคุณอีกครั้ง แต่ก็ไม่รู้ว่าควรจะพูดยังไง... ตอนแรกก็ลังเลอยู่ระหว่าง またありがとう แต่ก็รู้สึกว่ามันแปลกๆ ไม่น่าจะเข้ากัน หรือจะใช้ 改めて อันนี้ก็รู้สึกประหลาดอยู่ดี (คิดไปเอง) ก็เลยใช้ 再び ไป ปรากฏว่าเพิ่งจะลองค้นหาในกูเกิ้ลดู ก็พบกับ 改めて感謝いたします จากเว็บที่บอกประโยคตัวอย่างที่ใช้ในธุรกิจ (http://www.berlitz.co.jp/phrase/02index.html) แต่กลับไม่พบคำว่า 再びありがとう แต่อย่างใด ไม่รู้ว่าหาไม่ดีหรือมันไม่มีจริงๆ แต่สรุปแล้วที่คิดว่า 改めてありがとう แปลกนี่คิดไปเองจริงๆ ด้วย 555 ไม่งั้นมันก็คงจะแปลกเพราะ 改めて ดูเป็นทางการ ในประโยคตัวอย่างที่พบก็ใช้คู่กับคำถ่อมตน... เอาเป็นว่ามันเป็นความรู้ใหม่ จะจำไว้ใช้นะขอรับ
5. あの屋 ปกติมักจะเห็น 屋 ตามหลังประเภทร้าน หรือไม่ก็เป็นคำแสดงความหมายว่าคน (恥ずかしがり屋、等) พอจะเอามาใช้โดดๆ แบบนี้ก็รู้สึกเองอีกนั่นแหละว่าแปลก แต่ว่าก่อนหน้านี้ที่พูดถึงร้านราเมง ก็เป็น ラーメン屋 ไป ถ้าจะเปลี่ยนเป็น 店 ก็เลยรู้สึกแปลกอีก - -" อาจจะคิดไปเองก็ได้ 555 ว่าแต่สรุปแล้วร้านที่เรียกลงท้ายว่า 屋 จะเรียกว่าเป็น 店 ได้มั้ย น่าสงสัยยิ่งนัก...
6. ความจริงตอนแรกคิดว่าจะเขียนขอบคุณด้วยประโยค 感謝しても、しきれません (ขอบคุณเท่าไรก็ไม่พอ) เพราะเพิ่งอ่านเจอในการ์ตูน 555 แต่ก็มาคิดได้ว่ามันดูโอเวอร์เกินไปที่จะใช้พูดเมื่ออีกฝ่ายเลี้ยงอาหารเพียงครั้งเดียว ไม่งั้นก็ต้องรู้สึกเป็นพระคุณมาก แบบถ้าไม่เลี้ยงคงอดตายแน่ๆ อะไรประมาณนั้นถึงจะพูดแบบนี้ล่ะมั้ง
7. นอกจากนั้นตอนแรกยังอยากจะเขียนต่อให้ยาวเล่นๆ ด้วยว่าถ้าอาจารย์(ที่เลี้ยง)ชอบอาหารไทย จะแนะนำร้านอาหารไทยเด็ดๆ ให้ แต่ก็คิดว่าถ้าเขียนไปแบบนั้นอาจารย์คงจะต้องส่งเมลกลับมาอีกรอบ ก็เลยไม่เขียนดีกว่า 555 ปรากฏว่าอาจารย์กนกวรรณบอกว่ามันเป็นหนึ่งในวิธีสานสัมพันธ์ต่อในอนาคต... เอาไว้จะลองใช้หากมีโอกาสนะขอรับ
หลังจากนั้นก็อันที่อาจารย์ให้ลองเขียนใหม่ในห้อง โดยมีประโยคนำให้แล้วให้มาเขียนขยายความต่อเอาเอง
昨日は、すてきなお店でおいしい料理をごちそうになり、ありがとうございました。
タイではあんなにおいしい日本料理を食べたのは初めてでした。料理の味はタイの全国に支店がある日本レストランのと大きく違ったと感じられました。値段は少し高いと存じますが、料理の味と食材の新鮮さでは適正価格だと存じます。
今度、バンコクにいらっしゃる機械があれば、私の学校にもお立ち寄りください。田中先生とお目にかかれるのを楽しみにしています。
ส่วนสีม่วงเข้มนั้นคือประโยคที่มีมาให้อยู่แล้ว และสีม่วงบานเย็นคือประโยคที่ต่อเติมเสริมแต่งคำว่า おいしい料理 ในประโยคก่อนหน้านี้เอาเอง
เนื่องจากที่ให้มาเขียนแค่สามบรรทัด เลยเวิ่นได้เท่านี้ 555 ในส่วนของ あんな นี่ก็ลองใช้ตามแบบที่คุ้นเคย โดยที่ยังไม่รู้เหมือนเดิมว่าควรจะใช้ あのような แบบข้างบน หรือ あんな แบบนี้แหละดี ส่วน 食べたのは初めてでした นี่ก็แก้จากข้างบนแล้ว แล้วก็มีเรื่องคำศัพท์ใหม่ที่ได้มาจากตัวอย่างในห้อง คือ 食材 (ส่วนประกอบในอาหาร) และ 適正価格 (ราคาสมเหตุสมผล) ที่ไม่มีใครสอนแต่เปิดดิกเจอก็เลยเอามาลองใช้ดูขอรับ
ไม่รู้ถูกผิดยังไง หากท่านใดมีคำแนะนำดีๆ ก็ขอความกรุณาชี้แนะด้วยนะขอรับ m(_ _)m
วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
บทที่ 8 อุปสรรคมีไว้ให้ฟันฝ่า
เอนทรี่นี้ขอต่อเนื่องจากบทที่แล้ว ที่พูดถึงคำที่มีความหมายว่าผ่านพ้นความยากลำบากไป ที่ตั้งชื่อเอนทรี่แบบนี้ไม่ได้หมายความว่าคนเขียนเป็นพวกมีกำลังใจเต็มเปี่ยม พร้อมจะสู้กับความยากลำบากทุกประเภทหรอกนะ 555
ที่ว่าต่อเนื่องกันเพราะในการบ้านชิ้นที่เคยเขียนว่า 乗り越える กับ 乗り切る ไปได้เขียนว่า 困難と闘う ไปด้วยนั่นเอง
เห็นคันจิ 闘う อาจจะงง มันอ่านว่า たたかう พอเห็นคำอ่านแล้วก็น่าจะรู้ว่าแปลว่าต่อสู้ ว่าแต่ว่า 闘う นี้มีความหมายต่างจาก 戦う ที่อ่านเหมือนกันเด๊ะ แปลว่าต่อสู้เหมือนกันอีกต่างหากยังไง ก็ลองมาสืบค้นกันดู
อ้างอิงจาก http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1214861642 และ http://kotobank.jp/word/%E6%88%A6%E3%81%86%E3%83%BB%E9%97%98%E3%81%86 ก็ได้ความแตกต่างของ 闘う・戦う ว่า
たたかう มีความหมายว่า
戦う 1. ใช้อาวุธหรือสิ่งต่างๆ เพื่อเอาชนะอีกฝ่าย
闘う 2. ต่างฝ่ายต่างใช้กำลังความสามารถเข้าแข่งขันกัน
3. ใช้ความพยายามฝ่าฟันอุปสรรค ความยากลำบาก
สรุปคือ 戦う ตัวนี้ใช้คันจิที่มาจาก 戦争 ซึ่งแปลว่าสงคราม และในสงครามก็ใช้อาวุธเข้าฟาดฟันกันเพื่อเอาชนะศัตรู
ส่วน 闘う ก็อยู่ในคำว่า 闘争(とうそう) ซึ่งแปลว่าการแข่งขัน ความขัดแย้งมากกว่า วิธีจำความแตกต่างก็คงประมาณนี้ล่ะมั้ง?
ที่ว่าต่อเนื่องกันเพราะในการบ้านชิ้นที่เคยเขียนว่า 乗り越える กับ 乗り切る ไปได้เขียนว่า 困難と闘う ไปด้วยนั่นเอง
เห็นคันจิ 闘う อาจจะงง มันอ่านว่า たたかう พอเห็นคำอ่านแล้วก็น่าจะรู้ว่าแปลว่าต่อสู้ ว่าแต่ว่า 闘う นี้มีความหมายต่างจาก 戦う ที่อ่านเหมือนกันเด๊ะ แปลว่าต่อสู้เหมือนกันอีกต่างหากยังไง ก็ลองมาสืบค้นกันดู
อ้างอิงจาก http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1214861642 และ http://kotobank.jp/word/%E6%88%A6%E3%81%86%E3%83%BB%E9%97%98%E3%81%86 ก็ได้ความแตกต่างของ 闘う・戦う ว่า
たたかう มีความหมายว่า
戦う 1. ใช้อาวุธหรือสิ่งต่างๆ เพื่อเอาชนะอีกฝ่าย
闘う 2. ต่างฝ่ายต่างใช้กำลังความสามารถเข้าแข่งขันกัน
3. ใช้ความพยายามฝ่าฟันอุปสรรค ความยากลำบาก
สรุปคือ 戦う ตัวนี้ใช้คันจิที่มาจาก 戦争 ซึ่งแปลว่าสงคราม และในสงครามก็ใช้อาวุธเข้าฟาดฟันกันเพื่อเอาชนะศัตรู
ส่วน 闘う ก็อยู่ในคำว่า 闘争(とうそう) ซึ่งแปลว่าการแข่งขัน ความขัดแย้งมากกว่า วิธีจำความแตกต่างก็คงประมาณนี้ล่ะมั้ง?
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)